Advertisement
Leaderboard 728x90

ที่ประชุม คณะรัฐมนตรี  (ครม.) วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 มีมติ อนุมัติ โครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT (ทอท.) วงเงินลงทุน 36,829.499 ล้านบาทเพื่อขยายขีดความสามารถในการรองรับปริมาณผู้โดยสารจากปัจจุบันที่ 30 ล้านคนต่อปี เป็น 40 ล้านคนต่อปี และสามารถบริหารจัดการให้รองรับผู้โดยสารสูงสุดได้ถึง 50 ล้านคนต่อปีคาดก่อสร้างได้ปี พ.ศ.2567 และแล้วเสร็จปี พ.ศ.2572

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 มีมติ อนุมัติ โครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT (ทอท.) วงเงินลงทุน 36,829.499 ล้านบาทเพื่อขยายขีดความสามารถในการรองรับปริมาณผู้โดยสารจากปัจจุบันที่ 30 ล้านคนต่อปี เป็น 40 ล้านคนต่อปี และสามารถบริหารจัดการให้รองรับผู้โดยสารสูงสุดได้ถึง 50 ล้านคนต่อปี โดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบรายงาน EIA ของโครงการแล้ว ในการประชุมครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.2565

Advertisement
Kreamy Proof

สนามบินดอนเมืองเฟส 3

สำหรับการพัฒนาจะประกอบด้วย งานหลักๆ ได้แก่ 1. การสร้างอาคารผู้โดยสาร 3 ซึ่งจะเป็นอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศหลังใหม่ มีพื้นที่อาคารรวมทั้งสิ้น 166,000 ตารางเมตรเพิ่มจำนวนเคาน์เตอร์เช็กอิน ช่องตรวจค้น จุดตรวจหนังสือเดินทาง รวมถึง พื้นที่โถงพักคอยผู้โดยสาร และเพิ่มความสะดวกสบายในการให้บริการด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ระบบ Self Check in, Self Bag drop และ Early Baggage รองรับผู้โดยสารระหว่างประเทศได้ถึง 18 ล้านคน ต่อปี สร้างศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางการเดินทางของสายการบินต้นทุนต่ำระหว่างประเทศ

2. การปรับปรุงอาคารผู้โดยสาร 1 โดยจะทำการปรับปรุงภายในอาคารใหม่ทั้งหมด และรวมพื้นที่การให้บริหารเข้ากับอาคารผู้โดยสาร 2 ให้เป็นอาคารผู้โดยสารในประเทศมี พื้นที่ให้บริการรวม 240,000 ตารางเมตร เพิ่มพื้นที่การให้บริการผู้โดยสารในประเทศถึง 2.25 เท่า เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ทั้ง Counter Check in จุดตรวจค้น สะพานเทียบอากาศยาน สามารถรองรับรองรับผู้โดยสารในประเทศได้ถึง 22 ล้านคน ต่อปี คืนศักยภาพการเป็นศูนย์กลางการบินในประเทศ

3. การปรับปรุงระบบการจราจรเข้าและออกสู่สนามบินดอนเมือง โดยการก่อสร้างสะพานเชื่อมทางยกระดับดอนเมืองโทลเวย์กับถนนภายในสนามบินดอนเมือง ทั้งขาเข้า และขาออก เพิ่มเติม 2 จุด และปรับปรุงขยายช่องทางจราจร หน้าอาคารผู้โดยสาร เป็น 6 ช่องทาง พร้อมปรับปรุงช่องทางออกด้านทิศใต้เพื่อลดการติดขัดของระบบจราจรภายในสนามบินดอนเมือง

4. การขยายพื้นที่ลานจอดอากาศยาน ปรับปรุงอาคารสินค้า อาคารสำนักงาน และระบบสาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับกิจกรรมทางการบินและการขนส่งทางอากาศ

Advertisement
The Xpozir

สนามบินดอนเมืองเฟส 3

นอกจากนี้ ทอท. จะดำเนินการให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) ก่อสร้างอาคาร Junction Building และอาคารจอดรถยนต์อัจฉริยะเพิ่มเติมในจุดต่าง ๆ อีก 5 จุด เพื่อเพิ่มพื้นที่จอดรถยนต์ให้แก่ผู้โดยสารได้มากถึง 10,000 คัน และดำเนินการสร้าง ทางเชื่อมต่อการเดินทางเข้าเมืองด้วยรถไฟฟ้าสายสีแดง โดยมีจุดเชื่อมต่อสู่ สถานีรถไฟฟ้า 3 จุด ได้แก่ อาคาร Junction Building อาคารผู้โดยสารอาคาร 3 และอาคารจอดรถยนต์ด้านทิศใต้ทำให้ให้ผู้โดยสาร และประชาชนทั่วไป สามารถเดินทางสู่ท่าอากาศยานดอนเมือง ได้อย่างรวดเร็ว และสะดวกสบาย

โดยจะดำเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ.2567-2572 (ระยะเวลา 7 ปี) โดยอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศแห่งใหม่จะแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2570 และการปรับปรุงอาคารผู้โดยสาร 1 และ 2 จะแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2572 เมื่อโครงการแล้วเสร็จทั้งหมด และเปิดให้บริการ จะทำให้ท่าอากาศยานดอนเมือง มีบทบาททางยุทธศาสตร์เป็น “ท่าอากาศยานที่รวดเร็วและสะดวกสบาย” หรือ “Fast and Hassle-free Airport” เพื่อเป็นศูนย์กลางของสายการบินต้นทุนต่ำในภูมิภาค ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิ สูงถึง 240,465 ล้านบาท โดยมีผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 50.71


Advertisement
Leaderboard 728x90
Advertisement
Billboard