Advertisement
Leaderboard 728x90

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) เดินหน้าส่งเสริมและสนับสนุนสตาร์ทอัพและผู้ประกอบธุรกิจนวัตกรรมไทย ผ่านโครงการนวัตกรรมแบบมุ่งเป้า (Thematic Innovation) เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ภายใต้งบประมาณกว่า 200 ล้านบาท โดยมุ่งสนับสนุนธุรกิจนวัตกรรมใน 6 สาขา ได้แก่ 1.อาหารมูลค่าสูงสำหรับส่งออก 2.ความมั่นคงทางอาหาร 3.เศรษฐกิจการหมุนเวียนและเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ 4.พลังงานสะอาด 5.ธุรกิจดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ และเทคโนโลยีโลกเสมือน หรือ ARI Tech และ 6.กลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่องในวงเงินสูงสุดไม่เกินโครงการละ 5,000,000 บาท ครอบคลุมทั้งการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม และทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานของนวัตกรรมในสภาพแวดล้อมจริง

วิเชียร สุขสร้อย

นายวิเชียร สุขสร้อย รองผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)(NIA) กล่าวว่า NIAมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนสตาร์ทอัพหรือผู้ประกอบการไทย ที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นเองและมีความสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล เพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ซึ่งเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และเพื่อชักจูงบริษัทชั้นนำจากทั่วโลกให้มาลงทุนในประเทศไทย โดย NIA ได้สร้างโอกาสการพัฒนานวัตกรรมด้วยการเชื่อมโยงเครือข่าย ทั้งด้านเทคโนโลยีและการเงิน ผ่านกลไกการสนับสนุนโครงการนวัตกรรมแบบมุ่งเป้า ซึ่งดำเนินการมาแล้วกว่า 5 ปี เกิดเป็นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายมากกว่า 92 โครงการ ด้วยเงินสนับสนุนกว่า 255 ล้านบาท และก่อให้เกิดมูลค่าประมาณ 530 ล้านบาท

Advertisement
อ่าวขนอม ซีฟู้ด

สำหรับปีนี้ NIA มุ่งเน้นโครงการนวัตกรรมมุ่งเป้าใน 6 ธุรกิจนวัตกรรมเป้าหมาย ได้แก่ 1.อาหารมูลค่าสูงสำหรับส่งออก 2.ความมั่นคงทางอาหาร 3.เศรษฐกิจการหมุนเวียนและเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ 4.พลังงานสะอาด 5.ธุรกิจดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ และเทคโนโลยีโลกเสมือน หรือ ARI Tech และ 6.กลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่อง โดยโครงการนวัตกรรมแบบมุ่งเป้าที่ NIA ดำเนินการนั้น เป็นการสนับสนุนเงินทุนให้เปล่าสำหรับสตาร์ทอัปหรือผู้ประกอบการที่สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมใน 6 กลุ่มธุรกิจนวัตกรรมเป้าหมาย ในวงเงินสูงสุดไม่เกินโครงการละ 5,000,000 บาท ครอบคลุมทั้งการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม และทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานของนวัตกรรมในสภาพแวดล้อมจริง

\สำหรับคุณสมบัติของผู้ประกอบการหรือสตาร์ทอัปที่จะสมัครเข้าร่วมได้ มีดังต่อไปนี้

1.ต้องเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย และมีผู้ถือหุ้นเป็นสัญชาติไทยอย่างน้อยร้อยละ 51

2.ต้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในเทคโนโลยีหลักที่ใช้ในโครงการ หรือเป็นการขอใช้สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาได้

Advertisement
The Xpozir

3.ต้องมีโมเดลธุรกิจและแผนการดำเนินธุรกิจที่ชัดเจน เพื่อรองรับการขยายผลโครงการอย่่างมีประสิทธิภาพ

4.สามารถสำรองเงินเพื่อเบิกจ่ายเงินอุดหนุนย้อนหลังได้

5.นิติบุคคลหรือกรรมการบริหารของนิติบุคคล มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ไม่น้อยกว่า 3 ปี

นอกจากนี้ ยังมีกลไกสนับสนุนอื่น ๆ เช่น การเชื่อมโยงผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาธุรกิจ เพื่อให้องค์ความรู้สำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ – บริการเพื่อออกสู่ตลาด การจับคู่กับนักลงทุนสำหรับนวัตกรรมที่เป็นที่ต้องการในสาขาอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงการสนับสนุนด้านแผนธุรกิจ การให้คำปรึกษาด้านทรัพย์สินทางปัญญา โดยสามารถลงทะเบียนออนไลน์ผ่าน https://mis.nia.or.th/ ได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2565


Advertisement
Leaderboard 728x90
Advertisement
Billboard