Advertisement
Leaderboard 728x90

ติดตามความคืบหน้าโครงการคมนาคมในพื้นที่ จ.สระบุรี

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าโครงการสำคัญเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาด้านคมนาคมในพื้นที่จังหวัดสระบุรี พร้อมด้วย นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคนายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมเจ้าท่านายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบกรักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงคมนาคม และผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ร่วมลงพื้นที่ โดยมี นายพลวรรธน์ เทียนชัยมงคล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่หน่วยงานในพื้นที่ และประชาชน ให้การต้อนรับ ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 ณ พื้นที่ก่อสร้างอุโมงค์ 1 โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา – ชุมทางถนนจิระ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า จากนโยบายของรัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่มุ่งมั่นพัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งในทุกมิติให้ครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นที่และสามารถเชื่อมโยงการเดินทางได้อย่างไร้รอยต่อ ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยวในภูมิภาค ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สามารถเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม เพื่อให้ประชาชนเดินทางได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย มีคุณภาพชีวิตที่ดี สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ กระทรวงคมนาคมได้เร่งรัดผลักดันการดำเนินโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ลดต้นทุนโลจิสติกส์ รวมถึงเป็นการอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ประชาชน ลดมลพิษและแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดในพื้นที่เขตเมือง สำหรับโครงการสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านคมนาคมในพื้นที่จังหวัดสระบุรี ครอบคลุมทุกมิติทั้งทางถนนทางราง และทางน้ำ มีดังนี้

Advertisement
อ่าวขนอม ซีฟู้ด

มิติการพัฒนาทางถนน

  1. การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงจังหวัดสระบุรี ประกอบด้วย

1.1 โครงการทางหลวงที่ดำเนินการแล้วเสร็จและเปิดให้บริการแล้ว ได้แก่ 1) สะพานกลับรถหนองแค – สระบุรี (ขาออก) เปิดให้บริการเมื่อเดือนพฤษภาคม 2563 2) สะพานกลับรถบน ทล.1 กม. ที่ 90+000และ 104+200 (ขาเข้า) เปิดให้บริการเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2564 3) ทล.33 สาย อ.บางปะหัน – อ.นครหลวง -อ.ภาชี – หินกอง (329 เดิม) ตอน บ.ภาชี – บ.หินกอง ตอน 2 เปิดให้บริการเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2563 4) สะพานข้ามจุดตัดทางรถไฟ ทล.3188 ทางเข้าเมืองแก่งคอย เปิดให้บริการเมื่อเดือนกันยายน 2563 และ 5) ทล.3222สาย อ.แก่งคอย – อ.บ้านนา ตอน ต.ชาผักแพว – ต.ชะอม เปิดให้บริการเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2565

1.2 โครงการทางหลวงที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง ระยะทางรวม 196 กิโลเมตร งบประมาณก่อสร้าง 79,271.31 ล้านบาท ได้แก่ 1) โครงการสะพานข้ามทางแยกจุดตัด ทล.362 กับ ทล.3041 ถนนวงแหวนรอบ เมืองสระบุรีด้านตะวันตก (แยกเลี่ยงเมืองเสาไห้) มีความก้าวหน้า 74.70% คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี พ.ศ.2566 2) โครงการก่อสร้างสะพานข้ามจุดตัดทางรถไฟ ทล.3188 สาย ขอนหอม – บ้านเหนือ (ทางเข้าเมืองแก่งคอย) มีความก้าวหน้า 50.26% คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี พ.ศ.2567 3) โครงการก่อสร้างสะพานข้ามจุดตัดทางรถไฟ ทล.3224 สาย บ้านป่า – ท่าคร้อ มีความก้าวหน้า 40.12% คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี พ.ศ.2567 และ 4) โครงการมอเตอร์เวย์M6 สายบางปะอิน – นครราชสีมา มีความก้าวหน้า 88.00% คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2567 สำหรับโครงข่ายทางหลวงที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับงบประมาณปี พ.ศ.2566 ระยะทางรวม 3.133 กิโลเมตร งบประมาณก่อสร้าง 141.29 ล้านบาท ได้แก่ 1) โครงการก่อสร้างทางหลวงผ่านย่านชุมชน ทล.3188 ตอน ท่าเยี่ยม – ขอนหอม ช่วง กม. ที่ 2+135 – 2+735 มีความก้าวหน้า 3.009% 2) โครงการพัฒนาสะพานและระบบระบายน้ำบน ทล.2 ตอน สระบุรี – ตาลเดี่ยว ช่วง กม. ที่ 5+957 – 7+415 มีความก้าวหน้า 8.895% 3) โครงการก่อสร้างเพิ่มประสิทธิภาพ ทล.2 ตอน ตาลเดี่ยว – ซับบอน ช่วง กม. ที่ 9+560 – 10+125 มีความก้าวหน้า 5.398% และ 4) โครงการก่อสร้างเพิ่มประสิทธิภาพ ทล.3520 ตอน ไผ่ต่ำ – หนองแคช่วง กม. ที่ 2+055 – 2+565 มีความก้าวหน้า 6.707%

นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมมีแผนพัฒนาโครงข่ายทางหลวงในอนาคตในพื้นที่จังหวัดสระบุรีจำนวน 5 โครงการ ระยะทางรวม 4.700 กิโลเมตร งบประมาณก่อสร้าง 1,890 ล้านบาท

Advertisement
The Xpozir
  1. การพัฒนาทางหลวงชนบทจังหวัดสระบุรี ประกอบด้วย

2.1 โครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินการและได้รับงบประมาณปี 2566 จำนวน 31 โครงการ งบประมาณก่อสร้าง 449.9266 ล้านบาท แบ่งเป็น งานก่อสร้างทางและสะพาน จำนวน 9 โครงการงานบำรุงรักษาทางและสะพาน จำนวน 11 โครงการ และงานอำนวยความปลอดภัย จำนวน 11 โครงการ อาทิ โครงการบำรุงถนนสาย สบ.4005 แยก ทล. 2247 – บ้านวังม่วง อ.มวกเหล็ก และวังม่วง จ.สระบุรี ขณะนี้อยู่ระหว่างลงนามในสัญญา

2.2 โครงการที่อยู่ระหว่างเตรียมของบประมาณปี 2567 จำนวน 67 โครงการ วงเงินทั้งสิ้น 818.8330 ล้านบาท แบ่งเป็น งานก่อสร้างทางและสะพาน จำนวน 11 โครงการ งานบำรุงรักษาทางและสะพาน จำนวน 29 โครงการ และงานอำนวยความปลอดภัย จำนวน 27 โครงการ อาทิ โครงการจ้างที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสม ถนนสาย ข2 และ ง3 ผังเมืองรวมเมืองสระบุรี อ.เมือง จ.สระบุรี

ติดตามความคืบหน้าโครงการคมนาคมในพื้นที่ จ.สระบุรี

  1. แผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง MR-MAP

ในปี พ.ศ.2564 แผนแม่บทโครงข่าย MR-MAP ได้ศึกษาแล้วเสร็จ และคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ได้เห็นชอบแล้วในปี พ.ศ.2565 หน่วยงานที่รับผิดชอบได้แก่ กรมทางหลวง และการรถไฟแห่งประเทศไทย จะได้ดำเนินการสำรวจและออกแบบในรายโครงการต่อไป ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการออกแบบเส้นทางเบื้องต้น ได้แก่ MR2 (ช่วงชลบุรี – นครราชสีมา) MR5 (ช่วงนครราชสีมา – อุบลราชธานี) และ MR8 (ช่วงชุมพร – ระนอง) โดยจะเริ่มก่อสร้างเส้นแรกได้ในช่วงปี พ.ศ.2566 และเปิดให้บริการได้ในปี 2568 โดยมีเส้นทางที่ผ่านพื้นที่ จ.สระบุรี MR2 : กรุงเทพฯ/ชลบุรี (แหลมฉบัง) – หนองคาย (ด่านหนองคาย)

  1. การเชื่อมโยงการขนส่งสาธารณะในจังหวัดสระบุรี สามารถเดินทางจากสถานีขนส่งผู้โดยสารไปยังสถานที่ต่าง ๆ โดยรถหมวด 1 จำนวน 8 เส้นทาง มีการเดินรถจริง 2 เส้นทาง และรถหมวด 4 จำนวน 35 เส้นทาง มีการเดินรถจริง 18 เส้นทาง นอกจากนี้ มีโครงการและแผนงานที่สำคัญ ได้แก่ การรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ การตรวจวัดควันดำเพื่อลดมลพิษ PM 2.5 กิจกรรมตรวจและทดสอบสารอันเกิดจากการเสพยาเสพติดให้โทษของพนักงานขับรถ การพัฒนาระบบการขนส่งด้วยรถโดยสารประจำทางจังหวัดสระบุรี เพื่อรองรับการขนส่งทางราง

มิติการพัฒนาทางราง

  1. โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา – ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กิโลเมตร 19 สถานี วงเงินลงทุน 27,453.80 ล้านบาท โดยก่อสร้างทางรถไฟใหม่ 1 ทาง ขนานกับทางรถไฟเดิม มีย่านกองเก็บสินค้า (CY) จำนวน 1 แห่ง ที่สถานีกุดจิก ศูนย์ควบคุมการเดินรถ จำนวน 1 แห่ง ที่สถานีนครราชสีมาและการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟ 3 แห่ง ขณะนี้อยู่ระหว่างก่อสร้าง คาดว่าจะก่อสร้างสัญญาที่ 1 และ 3 แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2566 และสัญญาที่ 2 อยู่ระหว่างเปรียบเทียบแนวเส้นทางของโครงการรถไฟทางคู่กับแนวเส้นทาง MR-MAP ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม
  2. โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ – อุบลราชธานี ระยะทาง 308 กิโลเมตร 35 สถานี วงเงินลงทุน 36,683 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูลเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการต่อคณะรัฐมนตรีภายในปี พ.ศ.2566
  3. โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร 6 สถานี ได้แก่ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ดอนเมือง อยุธยา สระบุรี ปากช่อง และสิ้นสุดที่นครราชสีมา วงเงินลงทุน 179,413 ล้านบาท ศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) 1 แห่ง (เชียงรากน้อย) หน่วยซ่อมบำรุงทาง 2 แห่ง (สระบุรี และโคกสะอาด) รวมถึงการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟ 1 แห่ง ระยะทาง 12.23 กิโลเมตร (เฉพาะอุโมงค์ความยาว 8 กิโลเมตร) ตั้งอยู่ระหว่างสถานีอยุธยา และปากช่อง วงเงินลงทุน 4,279.33 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีกำหนดเปิดให้บริการปี 2570

มิติการพัฒนาทางน้ำ

  1. โครงการขุดลอกแม่น้ำป่าสัก ต.นาโฉง อ.เมือง จ.สระบุรี อยู่ระหว่างดำเนินงานปีงบประมาณปี พ.ศ.2566
  2. การติดตามเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ โดยออกสำรวจบริเวณตลิ่งริมแม่น้ำป่าสักที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม การระบายน้ำทำให้ดินสไลด์ และทรุดตัว พร้อมทั้งรายงานพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการพิจารณาสร้างเขื่อนป้องกันน้ำเซาะ

ติดตามความคืบหน้าโครงการคมนาคมในพื้นที่ จ.สระบุรี

ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างอุโมงค์ 1 โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา – ชุมชนถนนจิระ ซึ่งเป็นอุโมงค์รถไฟที่มีความยาวมากที่สุดในประเทศ มีลักษณะเป็นอุโมงค์คู่ – ทางเดี่ยว ความยาว 5.42 กิโลเมตร กว้าง 7.5 เมตร สูง 7 เมตร พร้อมสั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมบูรณาการทำงาน เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการดำเนินงาน นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้รับฟังความคิดเห็นและความต้องการของประชาชน เกี่ยวกับการพัฒนาเส้นทางคมนาคมและการขนส่งสินค้าในพื้นที่ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี และพื้นที่ใกล้เคียงด้วย


Advertisement
Leaderboard 728x90
Advertisement
Billboard