บริษัท ถิรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TRTเดินหน้าคว้างานอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้รับคำสั่งซื้อจาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ในการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าขนาด 333.33 MVA 500 KV Power Transformer จำนวน 14 เครื่อง โดยใช้ในโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคใต้ตอนล่าง และโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร เพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า มูลค่ารวมกว่า 1,000 ล้านบาท ทั้งยังช่วยลดภาระการนำเข้า และยังสามารถผลิตไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ช่วยลดการขาดดุลการค้าของประเทศได้ปีละกว่า 1,000 ล้านบาท
นายสัมพันธ์ วงษ์ปาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ถิรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TRTผู้ผลิต จำหน่าย และซ่อมบำรุง หม้อแปลงไฟฟ้าทุกขนาด ของคนไทยเพียงแห่งเดียว เผยว่า ในช่วงกลางปี 2566 นี้ บริษัทฯ ได้รับความไว้วางใจจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ในการสั่งซื้อในการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าขนาด 333.33 MVA 500 KV ด้วยสัญญาเลขที่ S100900-3166-TILS-TX-03(R) และ S100905-3166-TIEC-TX-02 ในโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคใต้ตอนล่ง และโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางและกรุงเทพมหานคร จำนวน 14 เครื่อง เพื่อเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในพื้นที่ รวมมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท
ปัจจุบัน อุตสาหกรรมการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าของไทย นับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความโดดเด่น และเข้มแข็งที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของประเทศ ซึ่งพัฒนาการผลิตหม้อแปลงของไทยมีความก้าวหน้ามาถึงทุกวันนี้
กฟผ. มีส่วนสำคัญยิ่งต่อการพัฒนา และสร้างความมั่นคงทางระบบไฟฟ้าของประเทศ รวมถึงการสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าของคนไทย ให้มีความมั่นคง เข้มแข็ง จนมีขีดความสามารถสูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถผลิตหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังขนาดใหญ่ระดับ Extra High Voltage ขนาด 333.33 MVA ระดับแรงดัน 525 kV ลดภาระการนำเข้า และยังสามารถผลิตไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ช่วยลดการขาดดุลการค้าของประเทศได้ปีละกว่า 1,000 ล้านบาทอีกด้วย
โดยที่ผ่านมา ถิรไทย ได้สั่งสมประสบการณ์เพื่อพัฒนาต่อยอดการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้า ขนาด 333.33 MVA แรงดัน 525 kV จนได้รับความไว้วางใจ จาก กฟผ. ในการจัดซื้อหม้อแปลง ขนาดและแรงดันดังกล่าว จำนวน 6 เครื่อง ซึ่งได้ติดตั้งใช้งานที่สถานีไฟฟ้าแรงสูงอุบลราชธานี 3 เมื่อปี 2564 เป็นต้นมา และยังคงทำงานได้เป็นอย่างดี
“ขอบคุณ กฟผ. ที่ได้ส่งเสริมและสนับสนุนใช้หม้อแปลงไฟฟ้าที่ผลิตโดยคนไทย ตามนโยบายของ กฟผ. เสมอมา และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บริษัทจะได้รับการสนับสนุน สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมหม้อแปลงไฟฟ้าของคนไทย ที่จะสร้างความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมหม้อแปลงไฟฟ้าของประเทศในอนาคต ตามเจตนารมย์ร่วมกันในการลดการขาดดุลการค้าของประทศ เพื่อสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ ให้มีความ มั่นคง ยั่งยืน ต่อไป” นายสัมพันธ์ กล่าว