สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จับมือสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) ขับเคลื่อนโครงการ “SME Restart 2566” เตรียมพร้อม SME สู่การท่องเที่ยววิถีใหม่ เชื่อมโยงชุมชน สร้างรายได้แบบยั่งยืน คาดสร้างมูลค่าเศรษฐกิจกว่า 500 ล้าน
นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า ตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว เพื่อเตรียมความพร้อม ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ว่า โครงการดังกล่าว มุ่งเน้นเรื่องการเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการกลุ่มทองเที่ยว 5 กลุ่มธุรกิจหลัก ใน 10 พื้นที่ เชื่อมโยงกับชุมชน 15 ชุมชน รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,000 รายพัฒนาเป็นแหล่งทองเที่ยวที่ตอบโจทย์วิถีการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ คาดจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท โดยในปี 2564 สสว. และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) ได้รบกันจัดโครงการ SME Restart เพื่อ Upskill Reskill ผู้ประกอบการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ ภูเก็ตพังงา และสุราษฎร์ธานี กว่า 1,000 รายให้มีความพร้อมต่อการต้อนรับนักท่องเที่ยวในยุค New Normalจนเป็นให้เกิด Phuket Sandbox Model ที่เป็นต้นแบบในการเปิดประเทศอย่างปลอดภัยและได้รับการยอมรับไปทั่วโลก โดยในปีนี้ ลลา ได้ร่วมกับ สทท. อีกครั้งจัดโครงการ SME Restart 2566 โดยมุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยว Transform ธุรกิจให้มีความสามารถในการแข่งขันทั้งด้านสินค้า การตลาดและเทคโนโลยี ควบคู่กับการเติบโตอย่างยั่งยืน และเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวไปยังชุมชนเพื่อลดความเหลื่อมกระจายรายได้สู่ชุมชนทั่วประเทศ ตามแนวคิด “เตรียมพร้อม SME สู่การท่องเที่ยววิถีใหม่ เชื่อมโยงชุมชนสร้างรายได้แบบยั่งยืน
นายชานาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) กล่าวว่า จากความสำเร็จของ SME Restart 2564 ผู้ประกอบการท่องเที่ยวทั่วประเทศได้แจ้งความจํานงค์มาที่ สทท.ว่า อยากให้มีการจัดกิจกรรมดีๆเช่นนี้อีกทั่วประเทศ ทีมงาน สทท. เราจึงได้เดินทางร่วมกับผู้บริหาร สสว. ไปทั่วประเทศเพื่อท่า Focus Group สอบถามถึงความต้องการของผู้ประกอบการว่าสนใจที่จะปรับตัวในเรื่องใด และได้ข้อสรุปว่า ผู้ประกอบการท่องเที่ยวยุคนี้ ต้องการพัฒนาใน 3 เรื่อง คือ Smart Tourism /Green Tourism และ Wellness Tourism ดังนั้น SME Restart 2566 นี้จึงมีการจัดกิจกรรมทั้งหมดใน 10 พื้นที่ คือ นครราชสีมา อุดรธานี ชลบุรี เชียงใหม่ พิษณุโลก นครศรีธรรมราช กระบี่ ภูเก็ตประจวบคีรีขันธ์ และกรุงเทพมหานคร และมีการเชื่อมโยงไปยังชุมชนที่โดดเด่นในเรื่อง BCG/SDG และWellness Tourism ไม่ต่ำกว่า 15 แห่ง เพื่อที่จะต่อยอดให้ผู้ประอบการและชุมชน มีกลยุทธการบริหารและตลาดที่ Smart มีการเล่าเรื่องที่ดีและต่อยอดไปสู่การเป็น Virtual Tourism ที่สามารถประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวไปยังกลุ่มเป้าหมายทั่วโลกได้อย่างน่าสนใจ
ภายหลังการฝึกอบรม จะมีการหา Workshop การเชื่อมโยงธุรกิจ (BusinessCollaboration) และพัฒนาเชิงลีกให้กับกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว 15 กลุ่ม โดย าเนินการพัฒนาในด้านต่างๆเช่น การปรับรูปแบบธุรกิจ (Business Mocel) การพัฒนาการเล่าเรียง (Storytelling) การสร้าง DigitalContent การประสานเครือข่ายธุรกิจแบบ B2B และการท่องเทียวบนโลกเสมือน (Virtual Tour) ทั้งนี้เพื่อสร้างต้นแบบกลุ่มท่องเที่ยวธุรกิจที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน และจัดทำต้นแบบทางธุรกิจ (Success Case) ในรูปแบบดิจิทัล เพื่อเผยแพร่ให้กับผู้ประกอบการรายอื่น ๆ โดยคาดว่า เมื่อผู้ประกอบการนำาความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการประกอบธุรกิจ จะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท