Advertisement
Leaderboard 728x90

Paving-Green-Road-01

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ร่วมกับ Alliance to End Plastic Waste (AEPW) และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดงานแถลงข่าว ผลการศึกษานวัตกรรมถนนพลาสติกรีไซเคิลและการดำเนินโครงการระยะที่ 2 ภายใต้โครงการศึกษานวัตกรรมถนนพลาสติกรีไซเคิล ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านการใช้เศษพลาสติกไปเป็นวัตถุดิบในการสร้างถนนยางมะตอยเพิ่มความแข็งแรงให้กับถนนอีกทั้งช่วยลดปริมาณการเกิดก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตยางมะตอย

ชาครีย์ บำรุงวงศ์

ชาครีย์ บำรุงวงศ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการขนส่งทางบก(นักวิชาการขนส่งทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า สำหรับนวัตกรรมถนนพลาสติกรีไซเคิลตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน “ALL_Thailand…เพื่อจัดการพลาสติกอย่างยั่งยืน”ในวันนี้เป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนได้แก่ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ที่ร่วมกันดำเนินโครงการ Recycled Plastics in Roads Study ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก Alliance to End Plastic Waste (AEPW) สหรัฐอเมริกาเพื่อศึกษาวิจัยคุณสมบัติของถนนยางมะตอยที่มีส่วนผสมของขยะพลาสติกโดยการก่อสร้างถนนจะช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกรวมถึงลดปริมาณการเกิดก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตยางมะตอยซึ่งทั้งสองส่วนเมื่อใช้ร่วมกันจะเป็นวัตถุดิบในการสร้างถนนที่มีความแข็งแรงและไม่เกิดปัญหากับสิ่งแวดล้อมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในทุกมิติตลอดจนสนับสนุนให้เกิดการคมนาคมขนส่งที่มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า สะดวกรวดเร็ว และปลอดภัย ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันบูรณาการพัฒนาโครงสร้างของถนนภายในประเทศร่วมกับการรักษาสภาพแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน รวมถึงการส่งเสริมงานวิจัยพัฒนาที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมด้วย

Advertisement
อ่าวขนอม ซีฟู้ด

.อ.ท. ร่วมขับเคลื่อนโครงการที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาขยะพลาสติก

เกรียงไกร เธียรนุกุล

เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าผู้ประกอบการอุตสาหกรรมพลาสติกเป็นส่วนหนึ่งในการที่สร้างพลาสติกขึ้น เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวันทั้งสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆเช่น ถุงพลาสติก ขวดน้ำ หลอด ของเล่น จาน บรรจุภัณฑ์ใส่อาหาร และอื่นๆอีกมากมายส่งผลให้การใช้พลาสติกนั้นก่อให้เกิดปริมาณขยะมหาศาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ภายใต้การควบคุมและดูแลอย่างเข้มงวดตามมาตรการภาครัฐ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมพลาสติกต้องเจอกับมาตรการและกฎระเบียบเพื่อควบคุมการผลิตและผลกระทบสิ่งแวดล้อมซึ่งต้องมีหลักการจัดการพลาสติกตลอด Life Cycle ตั้งแต่การออกแบบ ผลิตการใช้งานและการจัดการหลังการใช้งานเสร็จแล้ว สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ ส.อ.ท.มีความยินดีอย่างยิ่ง ที่ได้มีส่วนร่วมขับเคลื่อนโครงการที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาขยะพลาสติก และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพลาสติกที่ใช้แล้วในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งโครงการถนนพลาสติกนี้ ได้ริเริ่มครั้งแรกโดยบริษัทสมาชิกของ ส.อ.ท.และพันธมิตร ได้แก่ เอสซีจี เคมิคอลส์ (SCGC) กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทยบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด(มหาชน) บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (SC ASSET)และ เซเว่น-อีเลฟเว่น ร่วมกันดำเนินโครงการเพื่อแก้ปัญหาขยะพลาสติกมาอย่างตอ่เนื่องจนทำให้ได้รับการสนับสนุนจาก Alliance to End Plastic Waste (AEPW) ในการต่อยอดการศึกษาครั้งนี้ เพื่อเป็นองค์ความรู้ที่สามารถขยายผลได้ไปสู่การนำขยะพลาสติกไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ เช่น การนำกลับไปหลอมใช้ใหม่ การนำไปรวมทำถนน ทำของประดิษฐ์สร้างมูลค่าในชุมชน ไม่ให้ขยะพลาสติกกลับมาเป็นผู้ร้ายทำลายสภาพแวดล้อม ชุมชน ท้องทะเลและอื่นได้อีก

โครงการฯนี้จะช่วยลดขยะพลาสติกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์หมุนเวียนต่อยอดได้

Mr. Nicholas Kolesch

Mr. Nicholas Kolesch รองประธานโครงการฯ จาก Alliance to End Plastic Waste (AEPW) สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ในฐานะที่AEPWเป็นองค์กรความร่วมมือระดับโลกเพื่อลดปัญหาพลาสติกใช้แล้ว มั่นใจว่าความรู้ ความสามารถและทักษะการบริหารงานขององค์กรในประเทศไทยที่เราสนับสนุนเงินทุนและร่วมทำงานด้วยไม่ว่าจะเป็นการผลักดันโครงการ การสร้างโมเดลการจัดการขยะพลาสติกในชุมชนตลอดจนงานวิจัยด้านวิชาการล้วนมีศักยภาพที่ช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กรในการจัดการขยะพลาสติกไม่ให้หลุดรอดไปสู่สิ่งแวดล้อมและสร้างสรรค์โลกนี้ให้พัฒนาไปในทางที่ยั่งยืนสำหรับความสำเร็จในของโครงการในเฟสที่ 1 เป็นตัวชี้วัดที่ดีที่ช่วยให้การสานต่อในเฟสที่ 2 สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง หวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการดังกล่าวฯ จะช่วยลดขยะพลาสติกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์หมุนเวียนต่อยอดได้

ความท้าทายในการศึกษานวัตกรรมพลาสติกเพื่อนำไปใช้งานในรูปแบบต่างๆ

เจริญชัย ประเทืองสุขศรี

เจริญชัย ประเทืองสุขศรี ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ถือเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกเพื่อนำไปเป็นส่วนประกอบในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เม็ดพลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่อเนื่องมากที่สุดเช่น บรรจุภัณฑ์ ยานยนต์ วัสดุก่อสร้าง และเครื่องอุปโภคบริโภค เป็นต้น, ผลิตภัณฑ์ยางสังเคราะห์เช่นยางสไตรีนบิวตาไดอีน ยางบิวตาไดอีน นำไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ ยางรถยนต์และเครื่องอุปโภคบริโภครวมทั้งผลิตภัณฑืสิ่งทอเส้นใยและบรรจุภัณฑ์ ซึ่งผู้ประกอบการปิโตรเคมีไม่สามารถที่จะควบคุมการนำไปใช้ต่อของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปผลิตเป็นพลาสติกได้ แต่พร้อมที่จะเป็นผู้ให้องค์ความรู้ นำผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีมาร่วมวิจัย และรณรงค์การกำจัดพลาสติกที่ถูกวิธีการนำกลับไปหลอมใช้ใหม่ร่วมกับทุกๆหน่วยงาน สำหรับการดำเนินการศึกษานวัตกรรมพลาสติกในโครงการฯนี้ถือเป็นเรื่องที่ท้าทายและน่าสนใจอย่างยิ่งเพราะทุกวันนี้ขยะพลาสติกมีเพิ่มขึ้นอย่างมากโดยเฉพาะในช่วง COVID-19 การใช้พลาสติกเพิ่มขึ้น ซึ่งการทำการศึกษามีความท้าทายว่าจะมีแนวทางและการนำพลาสติกที่ใช้แล้ว เหลือใช้นำไปใช้ประโยชน์ใหม่ๆในรูปแบบใดบ้าง รวมทั้งหาแนวทางในการคิดค้นสิ่งทดแทนพลาสติกในอนาคต

สถาบันพลาสติกพร้อมให้การสนับสนุนโครงการฯนี้อย่างเต็มที่

วีระ ขวัญเลิศจิตต์

วีระ ขวัญเลิศจิตต์ ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติกกล่าวว่าขยะพลาสติกในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากมีการคัดแยกประเภทของพลาสติกที่ยังมีคุณสมบัติเป็นพลาสติกที่สะอาดกลับไปรีไซเคิลเป็นเม็ดพลาสติกและนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำวนกลับมาใช้งานได้อีกหลายรอบผ่านกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ที่มีนวัตกรรมที่ดีเพื่อไม่ให้พลาสติกเหล่านี้หลุดรอดไปสู่สิ่งแวดล้อมและไม่ไปที่หลุมฝังกลบเป็นการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมเรื่องขยะพลาสติกในทะเลและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าโดยการนำกลับมาหมุนเวียนเพื่อทำประโยชน์ตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งสถาบันพลาสติก หน่วยงานภาครัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย และอื่นๆได้ร่วมดำเนินโครงการเกี่ยวกับพลาสติกในประเทศไทยในหลายๆโครงการมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งโครงการศึกษานวัตกรรมถนนพลาสติกรีไซเคิลฯ อีกหนึ่งโครงการที่เป็นความมุ่งมันในความร่วมมือของหลายภาคส่วนเพื่อให้เกิดผลการดำเนินการที่เกิดประโยชน์เป็นองค์รวมในการนำไปสู่การนำไปใช้เพื่อนำพลาสติกที่เป็นขยะพลาสติกไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบใหม่ๆ โดยไม่ทำลายสภาพสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนทั้งนี้ทางสภาบันพลาสติกพร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงและนำองค์ความรู้ที่มีเกี่ยวกับพลาสติกมาร่วมถ่ายทอดและแลกเปลี่ยน รวมทั้งส่งนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญมาร่วมดำเนินการในโครงการฯนี้

Advertisement
The Xpozir

TEI หวังเห็นการแก้ปัญหาชยะพลาสติกในประเทสไทยอย่างเป็นรูปธรรม

วิจารย์ สิมาฉายา

วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) และในฐานะเป็นเลขาธิการองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD)กล่าวว่า ประเทศไทยมีขยะพลาสติกอยู่อันดับที่ 12 ของโลก ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าขยะพลาสติกที่มีในประเทศไทยจะกำจัดถูกวิธีตามหลักวิชาการเพื่อไม่ทำลายสภาพแวดล้อมหรือนำไปรีไซเคิลเพื่อผลิตนำกลับมาใช้งานอีกหลายๆครั้ง รวมทั้งนำไปเป็นส่วนประกอบในการนำไปผิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆสำหรับนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่น นำไปสร้างถนนร่วมกับยางมะตอยและนำไปประดิษฐ์เป็นเฟอร์นิเจอร์เป็นต้นแต่สิ่งหนึ่งที่ควรกระทำอย่างต่อเนื่องซึ่จะช่ยลดขยะพลาสติกได้ดีคือการคัดแยกขยะพลาสติกทั้งจากผู้ผลิตผู้บริโภค และภาครัฐ เพื่อออกแบบเส้นทางพลาสติกใหม่ตั้งแต่ต้นทางการผลิตไปจนถึงการจัดการเมื่อเป็นขยะ ไม่ให้ขยะพลาสติกที่เกิดขึ้นกลับมาทำลายทุกๆคนรวมทั้งสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยอีก สำหรับโครงการศึกษานวัตกรรมพลาสติกฯ นี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลการศึกษาวิจัยของที่ได้จากโครงการฯทั้งเฟสที่ 1 และเฟสที่ 2 จะเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้แก้ปัญหาขยะพลาสติกในประเทศไทยอย่าเป็นรูปธรรมต่อไป

ผศ. ดร. พฤกษ์ อักกะรังสี

ผศ. ดร. พฤกษ์ อักกะรังสี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(มช.)กล่าวว่า มช.ได้ร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนพัฒนาโครงการถนนพลาสติกมาโดยตลอดและมีความพร้อมทั้งด้านบุคลากรและเครื่องมือที่จะพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมผ่านงานวิจัยต่างๆสำหรับในการร่วมการวิจัยในครั้งนี้เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้จากการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีทั้งที่มีอยู่เดิมและคิดค้นได้มามาผสมผสานเพื่อตอบโจทย์นำขยะพลาสติกในประเทศไทยที่มีอยู่จำนวนมากไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆรูปแบบต่างๆสร้างรายได้ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน รวมทั้งนำไปขยายผลสู่อุตสาหกรรมใหม่จากขยะพลาสติกในอนาคตด้วย


Advertisement
Leaderboard 728x90
Advertisement
Billboard