Advertisement
Leaderboard 728x90

สัมมนาพนักงาน คปภ. ประจำปี พ.ศ.2565

คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) จัดสัมมนาพนักงาน คปภ. ประจำปี พ.ศ.2565 ภายใต้แนวคิด “ร่วมใจ มุ่งมั่น ก้าวล้ำ เที่ยงธรรม” หรือ “Move Smart, Move Forward, Move Together” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปผลการดำเนินงานปี พ.ศ.2565 และแนวทางการดำเนินงานในปี พ.ศ.2566

สัมมนาพนักงาน คปภ. ประจำปี พ.ศ.2565

ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.)กล่าวว่า ในช่วงปี 2565 ผลกระทบของ COVID-19 ทำให้วิถีชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไปเป็นแบบ New Normal ซึ่งสำนักงาน คปภ. ก็มีการปรับตัวเข้าสู่ยุค Next Normal เช่นกัน โดยได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินการต่าง ๆ ทั้งด้านการกำกับและส่งเสริมภาคธุรกิจประกันภัย การคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัยให้กับประชาชน โดยมีความท้าทาย 3 ประการ คือประการแรก ความท้าทายในด้านการกำกับและตรวจสอบดูแลธุรกิจประกันภัย โดยการพัฒนากฎเกณฑ์ด้านกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพแต่มีความยืดหยุ่นภายใต้หลัก Principle-Basedประการที่สอง ความท้าทายในด้านการส่งเสริม เช่น การออกผลิตภัณฑ์ประกันภัยใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์และตรงตามความต้องการของผู้บริโภคและประการที่สาม การอำนวยความสะดวกด้านการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ในยุค Next Normal ด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบของการบริการประชาชนให้มีความทันสมัย เพื่อเพิ่มโอกาสของธุรกิจประกันภัย ให้มีความมั่นคง ยั่งยืน และแข่งขันได้ รวมทั้งเร่งฟื้นฟูความเชื่อมั่นของธุรกิจประกันภัยให้กลับคืนมา

Advertisement
อ่าวขนอม ซีฟู้ด

ในช่วงปี พ.ศ.2565 สำนักงาน คปภ.ได้เตรียมความพร้อมเพื่อปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ SMART OIC จนออกมาเป็นรูปเป็นร่างผ่านผลงานต่าง ๆ มากมาย และได้ระดมสรรพกำลังกันอย่างเต็มที่ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 การเกิดอุบัติเหตุรายใหญ่ ผลกระทบของการเพิกถอนใบอนุญาตบริษัทประกันภัย 4 ราย ฯลฯ โดยพนักงาน คปภ. ทุกคนได้ร่วมพลังกันฟันฝ่าอุปสรรคปัญหาต่าง ๆ และยืนเคียงข้างประชาชน เพื่อคุ้มครองและปกป้องสิทธิประโยชน์ของประชาชนผู้เอาประกันภัยอย่างถึงที่สุด ควบคู่ไปกับการส่งเสริมภาคธุรกิจประกันภัยให้มีความเข้มแข็งและเป็นที่พึ่งของประชาชนในทุกมิติของความเสี่ยงภัย ส่งผลทำให้ในปี พ.ศ.2565 สำนักงาน คปภ. มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน และนำมาซึ่งการได้รับรางวัลอันทรงเกียรติใหญ่ ๆ มากมาย เช่น รางวัลการประเมิน ITA ซึ่งสำนักงาน คปภ. ได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับ AA มีคะแนนสูงถึง 96.51 คะแนน สูงสุดเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน โดยได้รับ 100 คะแนนเต็มจากตัวชี้วัด “การเปิดเผยข้อมูล” และ “การป้องกันการทุจริต” รางวัลทุนหมุนเวียนดีเด่นจากกรมบัญชีกลาง ในส่วนของกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยสำหรับทุนหมุนเวียนที่เข้ารับการประเมินจากกรมบัญชีกลาง โดยกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย สำนักงาน คปภ. ได้รับรางวัลประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการดีเด่น ด้วยคะแนนการประเมินภาพรวมสูงถึง 4.3144 คะแนน ซึ่งนับว่าเป็นคะแนนสูงสุดที่กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยเคยได้รับจากกรมบัญชีกลาง

อีกรางวัลคือ “ผู้บริหารหน่วยงานอิสระดีเด่น” ประจำปี พ.ศ.2565 ในงาน SIAMRATH ONLINE AWARD 2022 ซึ่งเป็นรางวัลที่สะท้อนให้เห็นว่า บทบาทและการดำเนินงานของสำนักงาน คปภ. ด้านการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านประกันภัยมีผลงานเป็นที่ยอมรับและเป็นที่ประจักษ์ต่อสื่อมวลชน นอกจากนี้ สำนักงาน คปภ. ยังได้รับรางวัลรัฐบาลดิจิทัลระดับกรม รางวัลหน่วยงานคุณภาพด้านการใช้ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance) ด้วยผลคะแนนรวมจัดอยู่ในกลุ่ม Very High จากพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยมีผลคะแนนในระดับความพร้อม รวมสูงสุดถึง 82.07% และรางวัล DIGI Data Award “รางวัลชุดข้อมูลเปิดทรงคุณค่า” โดยสถาบันนวัตกรรมและธรรมาภิบาลข้อมูล ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับหน่วยงานที่มีผลงานชุดข้อมูลเปิดยอดเยี่ยม ทำให้เห็นว่า การทำงานของสำนักงาน คปภ. เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศและการวางรากฐานการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ของสำนักงาน คปภ. เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมประกันภัย และเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม

“ทุกรางวัลที่สำนักงาน คปภ. ได้รับนี้ แสดงถึงความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ การพัฒนาการบริหารงานและการบริหารจัดการภายในองค์กร ซึ่งเราจะต้องไม่เพียงรักษาคุณภาพนี้ไว้ แต่จะต้องพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้สำนักงาน คปภ. เป็นองค์กรหลักที่จะช่วยนำไปสู่การยกระดับอุตสาหกรรมประกันภัยให้มีความเข้มแข็ง ยั่งยืน และเป็นที่พึ่งของประชาชนอย่างแท้จริงและตลอดไป”

สำหรับนโยบายการดำเนินงานในปี 2566 สำนักงาน คปภ. ได้กำหนดวัฒนธรรมและค่านิยมองค์กรใหม่ คือ “ร่วมใจ มุ่งมั่น ก้าวล้ำ เที่ยงธรรม” โดยมีคำนิยาม ดังนี้ ร่วมใจ คือ ผสานความร่วมมือและไว้วางใจ (Teamwork & Trust) มุ่งมั่น คือ ทำงานอย่างมืออาชีพ (Professionalism) ก้าวล้ำ คือ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ (Creativity with Agility) และเที่ยงธรรม คือ ยึดหลักธรรมาภิบาลและใส่ใจสังคม (Good Governance for Good Society) ดังนั้น ทิศทางการดำเนินงานของสำนักงานในปี พ.ศ.2566 จะต้องมีการทบทวนและปรับทิศทางในการกำกับดูแลอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะเรื่องการฟื้นฟูความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบประกันภัยที่ได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีจากการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนประกันภัย การฉ้อฉลประกันภัย รวมถึงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและยกระดับมาตรฐานในการบริหารความเสี่ยงของบริษัทประกันภัยที่เข้มข้นขึ้น เพื่อให้ครอบคลุมความเสี่ยงสำคัญได้อย่างครบถ้วน และมีฐานะการเงินที่มั่นคงเพียงพอรองรับความเสี่ยงและบริบทในการดำเนินธุรกิจในอนาคต ควบคู่ไปกับการต่อยอดสนับสนุนให้บริษัทประกันภัยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและใช้ประโยชน์จากข้อมูลในระดับที่สูงขึ้น ดังนั้น จึงเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากเดิมที่เคยอยู่ในสถานะของการตั้งรับและเรียนรู้สถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อเข้าสู่โหมดการฟื้นฟูความเชื่อมั่นและเดินทางไปสู่การสร้างสมดุลของระบบประกันภัย ควบคู่กับการเสริมสร้างความทนทาน มั่นคง และยืดหยุ่นให้กับระบบประกันภัย ประกอบกับในปี 2566 เป็นปีสุดท้ายของการดำเนินการขับเคลื่อนภายใต้แผนยุทธศาสตร์สำนักงาน คปภ. ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2564-2566) จึงจำเป็นต้องเร่งดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และผลลัพธ์ที่คาดหวังให้ระบบประกันภัยไทยมีความมั่นคง ยั่งยืน และแข่งขันได้ในเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากการประกันภัยได้อย่างเหมาะสมและเพียงพอ โดยสำนักงาน คปภ. ได้กำหนด Key Result 5 เป้าหมายหลัก ดังนี้

Advertisement
The Xpozir

KR แรก ประชาชนและภาคเอกชนเชื่อมั่นในระบบประกันภัย ตระหนักถึงความเสี่ยง และใช้การประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงเพิ่มขึ้น มีแนวทางการดำเนินงานที่สำคัญ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในมิติต่าง ๆ

KR ที่ 2ระบบประกันภัยมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนเศรษฐกิจและสังคมให้ฟื้นตัวจากสภาวะวิกฤตได้อย่างราบรื่น สามารถบริหารความเสี่ยงสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

KR ที่ 3สร้างระบบนิเวศน์ที่เหมาะสม เพื่อเร่งส่งเสริมให้ธุรกิจประกันภัยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่มากขึ้น

KR ที่ 4แนวทางการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยของสำนักงาน คปภ. เท่าทัน สอดคล้องกับบริบทใหม่ กฎระเบียบ และมาตรฐานสากลที่เปลี่ยนแปลง

KR ที่ 5สำนักงาน คปภ. มุ่งสู่การเป็นองค์กรดิจิทัล ที่มีความยืดหยุ่น พร้อมรับความท้าทายใหม่

สำหรับกุญแจสำคัญสำหรับสำนักงาน คปภ. ในการปรับตัวสู่โลกหลังยุคโควิด-19 มี 4 ประการหลัก ๆ คือประการแรก สร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับองค์กรอย่างยั่งยืน และให้ความสำคัญกับการผลักดันให้มีการผนวกเรื่อง ESG (Environment, Social and Governance) เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายและกลยุทธ์ของสำนักงาน คปภ. รวมทั้งสนับสนุนและผลักดันให้ธุรกิจประกันภัยดำเนินธุรกิจภายใต้หลักการ ESG เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนประการที่ 2 ปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยนำผลการศึกษาโครงการ Business Process Improvement มาใช้อย่างจริงจังให้สามารถรับมือและเตรียมความพร้อมให้กับพนักงานในสายงานต่าง ๆ

โดยในปี พ.ศ.2566 จะมีการปรับปรุงขนานใหญ่เรียกได้ว่ายกเครื่องกันเลยทีเดียว ไม่ว่าจะจากจุดที่เป็น touch point เช่น การรับเรื่องร้องเรียน การให้บริการตัวแทนนายหน้า ระบบ E-licensing หรือ จากกระบวนการภายใน เช่น กระบวนการตรวจสอบและวิเคราะห์พัฒนาระบบสถิติเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล EWS ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น ระบบงาน e-sarabunและระบบ ERP ของสายบริหารที่มาใช้ในการจัดการดูแลทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับการเงินทั้งหมดของสำนักงาน คปภ.ประการที่ 3 ใช้ประโยชน์จากโอกาสในการเปลี่ยนองค์กรสู่ดิจิทัล จากระบบงานสารสนเทศที่ได้พัฒนาแล้ว มีการติดตามผลผ่านคณะทำงาน Enterprise Architecture เพื่อให้เกิดความสอดคล้องเชื่อมโยงระหว่างภารกิจของสำนักงาน คปภ. กับกระบวนการการทำงานและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและประการที่ 4 สร้างสมดุลระหว่างการมีเสถียรภาพและการเติบโตเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการขับเคลื่อนองค์กร สำนักงาน คปภ. จะต้องจริงจังเรื่องการบริหารความเสี่ยงและรักษาสมดุลระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ อยู่อย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการปรับปรุงกฎระเบียบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของธุรกิจประกันภัยที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว


Advertisement
Leaderboard 728x90
Advertisement
Billboard