Advertisement
Leaderboard 728x90

สภาพัฒน์เผย เศรษฐกิจไทย ปี’66 โต 1.9% คาดปี’67 ขยายตัวในช่วง 2.2 – 3.2% 

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)หรือสภาพัฒน์ เผย อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไตรมาส 4/2566 เติบโต 1.7% ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะขยายตัวได้ 2.5%ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี2567 สศช.ปรับประมาณการลงมาอยู่ที่ 2.2-3.2% จากเดิมคาด 2.7-3.7%

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) หรือ สภาพัฒน์ เปิดเผยว่า  เศรษฐกิจไทย ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 ขยายตัว 1.7% เร่งขึ้นจากการขยายตัว 1.4% ในไตรมาสที่สามของปี 2566 และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 ลดลงจกไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 ที่ 0.6% รวมทั้งปี 2566 เศรษฐกิจไทย ขยายตัว1.9% ชะลอตัวลงจากการขยายตัว2.5% ในปี 2565

Advertisement
Kreamy Proof

การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวในเกณฑ์สูง 7.4% ต่อเนื่องจาก 7.9% ในไตรมาส ก่อนหน้าตามการขยายตัวของการใช้จ่ายในทุกหมวด สอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องของการจ้างงาน และความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 16 ไตรมาสขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล 3.0% ต่อเนื่องจากการลดลง 5.0% ในไตรมาสก่อนหน้า โดยรายจ่ายการโอนเพื่อสวัสดิการทางสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินสำหรับสินค้าและบริการในระบบตลาดลดลง 14.1% และรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการลดลง 8.0% สำหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำในไตรมาสนี้อยู่ที่ 31.0%ทั้งนี้รวมทั้งปี 2566 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์สูง 7.1% เทียบกับ6.2% ในปี 2565 ขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลลดลง 4.6% เทียบกับ การขยายตัว 0.1% ในปี 2565

ด้านการลงทุน รวมปรับตัวลดลง 0.4% เทียบกับการขยายตัว 1.5% ในไตรมาสก่อนหน้าตามการลงลงของการลงทุนภาครัฐที่ลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 3 ที่ 20.1% ต่อเนื่องจากการลดลง 3.4% ในไตรมาสก่อนหน้าโดยเป็นผลจากการลดลงของการลงทุนของรัฐบาล 33.5% เนื่องจากความล่าช้าของงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ขณะที่การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 5.0 เร่งขึ้นจาก 3.5% ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 5 ไตรมาสทั้งนี้รวมทั้งปี 2566 การลงทุนรวมขยายตัว 1.2% เทียบกับ 2.3% ในปี 2565 โดยการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 3.2% เทียบกับการขยายตัว 4.7% ในปี 2565 ขณะที่การลงทุนภาครัฐลดลง 4.6% เทียบกับการลดลง 3.9% ในปี 2565

ด้านการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกสินค้า มีมูลค่า 68,822 ล้านดอลลาร์ สรอ. กลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส 4.6% โดยปริมาณส่งออกกลับมาขยายตัว 3.2% ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้น 1.4%ส่วนการนำเข้าสินค้า มีมูลค่า 65,370 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาส 6.1% เทียบกับการลดลง 10.7% ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการกลับมาขยายตัวของการส่งออกสินค้า รวมทั้งปี 2566 การส่งออกสินค้ามีมูลค่า 280,209 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลง 1.7% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 263,237 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลง 3.1% ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 17.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (597.8 พันล้านบาท)

สำหรับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานอยู่ที่ 0.81% ต่ำสุดในรอบ 32 ไตรมาส และต่ำกว่า 0.99% ในไตรมาสก่อนหน้า และ 1.15% ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลง 0.5% และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ 0.6% ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (53.9 พันล้านบาท)

Advertisement
The Xpozir

เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2566 อยู่ที่ 2.2 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. และหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2566 มีมูลค่าทั้งสิ้น 11,084,577.1 ล้านบาท คิดเป็น 61.3% ของ GDP

สำหรับเศรษฐกิจไทยปี 2566ขยายตัว 1.9% ชะลอลงจากการขยาย 2.5% ในปี 2565 โดยการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์สูง 7.1% เร่งขึ้นจาก 6.2% ในปี 2565 ส่วนการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 3.2% การส่งออกสินค้าลดลง 1.7% เทียบกับการขยายตัว 5.4% ในปี 2565 และการลงทุนภาครัฐลดลง 4.6% เทียบกับการลดลง 3.9% ในปี 2565โดยรวมทั้งปี 2566 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) อยู่ที่ 17.9 ล้านล้านบาท (5.13 แสนล้านดอลลาร์ สรอ.) เพิ่มขึ้นจาก 17.4 ล้านล้านบาท (4.95 แสนล้านดอลลาร์ สรอ.) ในปี 2565 และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัวของคนไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 255,867.7 บาทต่อคนต่อปี (7,331.5 ดอลลาร์ สรอ. ต่อคนต่อปี) เพิ่มขึ้นจาก 248,788.6 บาทต่อคนต่อปี (7,094.1 ดอลลาร์ สรอ. ต่อคนต่อปี) ในปี 2565 สำหรับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานอยู่ที่ 0.98% อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ 1.2% และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล1.3% ของ GDP

สำหรับเศรษฐกิจไทยปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวในช่วง 2.2 – 3.2 (ค่ากลางการประมาณการที่ 2.7%) ลดลงจากเดิมที่คาดไว้ขยายตัวได้ 3.2% โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจาก

1.การกลับมาขยายตัวของการส่งออกสินค้าตามการฟื้นตัวของการค้าโลก

2.การขยายตัวในเกณฑ์ดีของการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน

3.การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว

สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในปี2567 ต้องหามาตรการดูแลภาคหนี้ครัวเรือน เพราะหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีสูงต่อเนื่องมาหลายปียังไม่ลดลง หวั่นกระทบรายย่อยอย่างมาก สำหรับการดูแลผู้ส่งออก ได้กำลังหารือกับกระทรวงการคลัง สร้างระบบค้ำประกันการส่งออกเป็นรายบุคคล หากมีออเดอร์สั่งซื้อเข้ามา ควรนำเอกสารดังกล่าว ยื่นค้ำประกันการกู้เงินจากแบงก์  เพื่อนำทุนมาผลิตสินค้าได้  โดยไม่ต้องรอการค้ำประกันจาก บสย.ในแต่ละชุด เพื่อออกมาดูแลเอสเอ็มอีผู้ส่งออกนอกจากนี้ ต้องเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณปี 2567 ของหน่วยงานภาครัฐ  เพื่อให้เบิกจ่ายงบลงทุนได้ตามเป้าหมาย  เตือนระวังภัยแล้งจากอุณหภูมิสูงในปีนี้ จนกระทบต่อการผลิตสินค้าเกษตร รัฐบาลต้องเตรียมแผนรองรับ หวั่นกระทบต่อเกษตรกรหนักมาก  อีกทั้ง ความรุนแรงตะวันออกกลาง ยังกระทบต่อค่าระวางเรือ กระทบต้นทุนการส่งออกของไทย


Advertisement
Leaderboard 728x90
Advertisement
Billboard