Advertisement
Leaderboard 728x90

กรมควบคุมมลพิษ  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) (TIPMSE) จัดพิธีมอบเข็มเชิดชูเกียรติและมอบประกาศเกียรติคุณองค์กร ผู้นำแห่งความรับผิดชอบด้านความยั่งยืนให้กับ 72 องค์กรซึ่งเป็นภาคีเครือข่ายทั้งจากภาคการผลิต ภาคเอกชน ภาครัฐ ภาคการศึกษา และองค์กรอิสระ เพื่อร่วมขับเคลื่อนโครงการ “PackBack เก็บกลับบรรจุภัณฑ์เพื่อวันที่ยังยืน”

วราวุธศิลปอาชา

วราวุธศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวว่า สำหรับการขับเคลื่อนแนวทางการจัดการบรรจุภัณฑ์ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยหลักการ Extended Producer Responsibility (EPR)” ในพิธีเชิดชูเกียรติและประกาศเกียรติคุณ องค์กรผู้นำแห่งความรับผิดชอบด้านความยั่งยืน ภายใต้โครงการ“PackBackเก็บกลับบรรจุภัณฑ์เพื่อวันที่ยั่งยืน” ซึ่งมีภาคีเครือข่ายทั้งจากภาคการผลิต ภาคเอกชน ภาครัฐ ภาคการศึกษา และองค์กรอิสระ รวม 72 องค์กรร่วมเป็นภาคีขับเคลื่อนการดำเนินงาน ภายใต้แนวคิดEPR หรือ Extended Producer Responsibility ซึ่งเป็นแนวคิดที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy ตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งรัฐบาลได้ประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ตามเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ของประเทศไทย โดยแนวคิด EPR ซึ่งเป็นหลักการที่ขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิตไปยังช่วงต่าง ๆ ของวงจรชีวิตของบรรจุภัณฑ์ เป็นแนวทางให้ผู้ผลิตคำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบ กระจายสินค้า​ การรับคืน การเก็บรวบรวม การใช้ซ้ำ การนำกลับมาใช้ใหม่และการบำบัดจะเป็นแนวทางการจัดการบรรจุภัณฑ์ตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ด้วยหลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิตไปยังช่วงต่างๆ ของวงจรชีวิตของบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้เกิดการนำบรรจุภัณฑ์กลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่หลังการบริโภค ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นการคำนึงถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งหากผู้ผลิตสามารถรับคืนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์กลับคืนจากผู้บริโภคหรือผู้ซื้อสินค้าได้ จะเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยเกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ได้จริง ภายใต้การประสานงานและบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันจากทุกภาคส่วนซี่งเป็นเครื่องมือที่มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับ อุตสาหกรรมพลาสติกและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ช่วยให้เกิดการพัฒนาในทิศทางที่เหมาะสม ส่งเสริมการสร้างระบบการจัดการปัญหาขยะพลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืนต่อไป

Advertisement
อ่าวขนอม ซีฟู้ด

โฆษิต สุขสิงห์

โฆษิต สุขสิงห์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และประธานสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อมสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)กล่าวว่า โครงการ “PackBackเก็บกลับบรรจุภัณฑ์เพื่อวันที่ยั่งยืน” ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2564ภายใต้ความร่วมมือของ TIPMSE ร่วมมือกับ 50 องค์กร ภาครัฐ เอกชน ทั้งผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้รวบรวม โรงงานรีไซเคิล เทศบาลเมืองแสนสุข เทศบาลเมืองบ้านบึงและเทศบาลตำบลเกาะสีชัง นับเป็นการริเริ่มโครงการนำร่องในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เพื่อส่งเสริมการจัดการบรรจุภัณฑ์ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยหลัก EPR (Extended Producer Responsibility) หรือ การขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิตสู่การขยายเครือข่ายร่วมรับผิดชอบต่อการบริหารจัดการขยะจากบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ เพื่อตอบสนองเป้าหมายในการป้องกันผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม และคำนึงถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ และสอดรับแนวทางการพัฒนา BCG Model ของรัฐบาล

PackBack เก็บกลับบรรจุภัณฑ์เพื่อวันที่ยั่งยืน

สำหรับความร่วมมือของภาคีเครือข่ายในโครงการ “PackBack เก็บกลับบรรจุภัณฑ์เพื่อวันที่ยั่งยืน” ได้ปฏิบัติการภายใต้คณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนใน 4 แนวทาง ประกอบด้วย 1.การศึกษากลไกการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ตามหลัก EPR 2.การดำเนินการสร้างต้นแบบและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 3.การสร้างการรับรู้ในการจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ถูกต้องและความเข้าใจต่อระบบ EPR และ4.การดำเนินขยายความร่วมมือไปยังภาคผู้ผลิตให้เข้ามามีส่วนร่วมให้มากขึ้น เพื่อสร้างกลไกหรือระบบนิเวศที่เหมาะสมและสอดรับกับบริบทของประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพในการนำขยะจากบรรจุภัณฑ์หลังบริโภคกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่อย่างต่อเนื่อง และยังเป็นการเตรียมความพร้อมของผู้ผลิตและทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการภายใต้แพลตฟอร์มในโครงการ “PackBack” ซึ่งสามารถนำไปขยายผลให้เกิดการสร้างระบบเครือข่ายที่สมบูรณ์ในประเทศไทยต่อการบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว ด้วยหลักการ EPR ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมและรับมือกับกฎเกณฑ์และกติกา การดูแลด้านสิ่งแวดล้อมของโลกที่จะมีความเข้มข้นมากขึ้นในอนาคต  จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างแรงกระตุ้นจากทุกภาคส่วนเพื่อสร้างระบบ Ecosystems ตั้งแต่การเก็บรวบรวมขยะบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว การขนส่งและระบบโลจิสติกส์ การรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วสู่การเป็นวัตถุดิบที่สร้างมูลค่า


Advertisement
Leaderboard 728x90
Advertisement
Billboard