Advertisement
Leaderboard 728x90

มูลนิธิบิลแอนด์เมลินดาเกตส์ และสถาบันสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)เปิด “ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการน้ำและสุขาภิบาล”(Global Water & Sanitation Center) หรือ GWSC แห่งแรกในภูมิภาคเอเชีย เพื่อมุ่งเน้นแก้ปัญหาความไม่ปลอดภัยของส้วม และสร้างระบบสุขาภิบาลที่ยั่งยืนให้กับประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงประเทศไทยโดยมูลนิธิบิลแอนด์เมลินดาเกตส์มอบทุนจำนวนเงิน 8 ล้านเหรียญสหรัฐฯหรือราว 350 ล้านบาทให้สถาบัน AIT เป็นศูนย์และดำเนินการทางด้านวิชาการ และสร้างองค์ความรู้ ถ่ายทอดนวัตกรรมการจัดการน้ำสะอาด และสุขาภิบาทที่ยั่งยืน

ดร.อาณัติ อาภาภิรม

ดร.อาณัติ อาภาภิรม กรรมการบริหารสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย(AIT) กล่าวว่า ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการน้ำและสุขาภิบาล (GWSC) จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างการเข้าถึงห้องน้ำ ห้องส้วมที่ปลอดภัยและระบบสุขาภิบาลที่ยั่งยืนในประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียรวมถึงประเทศไทยซึ่งระบบสุขาภิบาลที่ด้อยคุณภาพเป็นปัญหาหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคระบาดซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังโดยฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาที่การเข้าถึงห้องน้ำห้องส้วมที่ปลอดภัยมีจำกัดรวมถึงระบบสุขาภิบาลยังไร้คุณภาพเป็นระยะเวลาที่ยาวนานซึ่งสถาบัน AIT ได้พัฒนานวัตกรรมส้วมและสร้างเครื่องมือการวางแผนด้านสุขาภิบาลโดยได้รับทุนจากมูลนิธิมูลนิธิบิลแอนด์เมลินดาเกตส์ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2555 ซึ่งมูลนิธิฯได้นำนวัตกรรมไปใช้ประเทศต่างๆทั่วโลก และในปี พ.ศ. 2565 นี้มูลนิธิฯจึงมอบทุน 8 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 350 ล้านบาทจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการน้ำและสุขาภิบาล (Global Water & Sanitation Center) (GWSC)ที่สถาบัน AIT โดยมีเป้าหมายหลักที่จะให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการและเทคโนโลยีแก่ประเทศต่างๆไม่ว่าจะเป็นการจัดหาน้ำสะอาดหรือการจัดการสุขาภิบาลในเมืองอย่างมีส่วนร่วมจากผู้เชี่ยวชาญในภูมิภาคเอเชียภายในเวลา 3 ปีทั้งนี้ศูนย์ GWSC ไม่ได้ให้ความช่วยเหลือเฉพาะด้านวิชาการเท่านั้นแต่ยังเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ นวัตกรรมและเทคโนดลยีใหม่ๆให้กับการจัดการน้ำสะอาดและการสุขาภิบาลในอนาคตด้วย

Advertisement
อ่าวขนอม ซีฟู้ด

Mr. Brian Arbogast

Mr. Brian Arbogast, ผู้อำนวยการฝ่าย Water Sanitation & Hygiene มูลนิธิบิลล์แอนด์เมลินดาเกตส์กล่าวว่าเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมดในโลกนี้ไม่สามารถเข้าถึงสุขอนามัยที่ดีที่มีการจัดการอย่างปลอดภัย แม้ว่าจะมีห้องน้ำหลายๆประเภทมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่จะมีสักกี่ห้องน้ำที่ให้บริการด้านสาธารณสุขตามสุขอนามัยจริงๆ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงประเทศไทยมูลนิธิบิลแอนด์เมลินดาเกตส์ ซึ่งมีนโยบายช่วยการลงทุนด้านการพัฒนาต่างๆในภูมิภาคเอเชียเนื่องจากเอเชียเป็นภูมิภาคที่มีประชากรสูงสุดมีการเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลกแต่ประชากรส่วนใหญ่ยังขาดการเข้าถึงการสุขาภิบาลที่เหมาะสมส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเกิดโรคชนิดเดียวกับที่ผู้คนต้องทนทุกข์ทรมานจากการใช้ห้องน้ำห้องส้วมสาธารณะที่ไม่มีสุขอนามัยที่ดี โดยเฉพาะในช่สวงการเกิดโรคระบาด ในระบบห่วงโซ่บริการสุขอนามัยทั้งหมดภายในภูมิภาค ดังนั้นมูลนิธิฯจึงเกิดความตระหนักและต้องการให้การช่วยเหลือสนับสนุนเงินทุน บุคลากรในการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการน้ำและสุขาภิบาล (GWSC) จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม องค์ความรู้และการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดการเรื่องปัญหาห้องน้ำห้องส้วมภูมิภาคและที่เกี่ยวข้องทั้งหมดและยังมีแผนลงทุนเพิ่มผ่านศูนย์ GWSC ในอนาคตในภูมิภาคเอเชียและภูมิภาคอื่นๆเพิ่มเติม

ศ.ดร. ธรรมรัตน์ คุตตะเทพ

ศ.ดร. ธรรมรัตน์ คุตตะเทพ ผู้อำนวยการร่วมศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการน้ำและสุขาภิบาล(GWSC) กล่าวว่า ศูนย์ GWSC เกิดจากการที่ AIT ได้ทำงานร่วมกับมูลนิธิฯมากว่า 10 ปี แล้วในการพัฒนาสร้างระบบห้องน้ำห้องส้วมอัจฉริยะ ในการบำบัดน้ำเสียของเสียออกจากห้องน้ำห้องส้วมให้ไม่มีเชื้อโรคให้มีความปลอดภัยและมีใช้ทั่วทุกๆประเทศในภูมิภาคเอเชียรวมทั้งประเทศไทยที่มีประชากรกว่า 3,600 ล้านคน ซึ่งเป็นโจทย์ที่ท้าทายมาก จึงได้รวบรวมนักวิจัย จากทั่วภูมิภาคเอเชียมาร่วมกันคิดค้นในการสร้างเทคโนโลยีนวัตกรรมในการดูแลเรื่องห้องน้ำห้องส้วมและระบบสุขอนามัยที่ดีขึ้นจากนั้นเมื่อคิดค้นได้ผลิตภัณฑ์แล้วก็นำไปร่วมกับภาคเอกชนที่เขามีแนวคิดแนวทางในการดำเนินธุรกิจด้านสังคม สุขภาวะที่ดีทั่วถึง เช่น SCG ในการเข้ามาร่วมทำงานสร้างสุขภัณฑ์ภายในห้องน้ำห้องส้วมและระบบต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อมอบให้กับชุมชน สังคมทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศรวมทั้งจัดจำหน่ายในราคาที่ไม่แพงให้กับประเทศสมาชิกและนอกเหนือจากสมาชิกเพื่อนำเงินกลับเข้ามาต่อยอดคิดค้นนวัตกรรม ผลิตเป็นสุขภัณฑ์อื่นๆต่อไป

ศูนย์ GWSC

นอกจากนี้ภายในศูนย์ฯแห่งนี้จะมีการนำองค์ความรู้มาร่วมแลกเปลี่ยนการจัดการสุขลักษณะด้านห้องน้ำห้องส้วมที่เหมาะสมกับการใช้งาน กระจายความมีส่วนร่วมจากภายในศูนย์ฯแห่งนี้สู่พื้นที่จริงในแต่ละประเทศ ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ประชาชน สถาบัน องค์กรต่างๆที่ไม่มีโอกาสใช้ห้องน้ำห้องส้วมหรือมีโอกาสใช้แล้วแต่ไม่นิยมใช้ห้องน้ำห้องส้วมชอบใช้วิธีเข้าห้องน้ำตามธรรมชาติในป่าซึ่งไม่ถูกสุขลักษณะ เพราะการใช้ห้องน้ำห้องส้วมและระบบสุขาภิบาลแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นในตัวเมืองในชนบท ในอาคารสถานที่ทำงานต่างๆ ซึ่งต้องมีมาตรฐาน มีความปลอดภัยและใช้ทรัพยากรน้ำในการกำจัดของเสียสิงปฏิกูลต่างๆให้น้อยที่สุดเพื่อป้องกันโรค เช่นโรคใบไม้ในตับ มะเร็งในตับจากของเสียและโรคทางเดินอาหาร นำสิ่งปฏิกูลของเสียจากห้องน้ำห้องส้วมไปใช้ในการเป็นวัตถุดิบในการผลิตไฟฟ้าได้อีกทางหนึ่งด้วย รวมทั้งช่วยรณรงค์ให้เกิดการนำของเสียนำน้ำที่ชำระในห้องน้ำห้องส้วมผ่านสุขภัณฑ์ทุกๆประเภทนำน้ำเสียเหล่านั้นกลับมารีไซเคิลด้วยนวัตกรรมแล้วนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง

ศูนย์ GWSC

สำหรับศูนย์ฯแห่งแรกที่ตั้งนี้จะทำหน้าที่เชื่อมโยงการทำงานกับเครือข่ายของมูลนิธิฯรวมทั้งนักวิจัยจากสถาบัน AIT ทั้งในอดีตในปัจจุบันมาร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมทั้งมีการสัมมนาทางวิชาการเพื่อช่วยเหลือสังคมในด้านอื่นๆให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆและในอนาคตจะขยายความร่วมมือกับศูนย์อื่นๆที่ทำงานเกี่ยวกับทางด้านสุขอนามัยเพื่อช่วยให้โลกใบนี้มีความเท่าเทียมกันเรื่องห้องน้ำห้องส้วมและสร้างระบบสาธารณูโภค ระบบการจัดการสุขาภิบาลที่ยั่งยืนให้กับโลกใบนี้

Advertisement
The Xpozir

Advertisement
Leaderboard 728x90
Advertisement
Billboard