Advertisement
Leaderboard 728x90

ธพ. เผยภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงรอบ 9 เดือนของปี’66อยู่ที่ 153.54ล้านลิตร/วัน

กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เผยภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยเดือนมกราคม – กันยายน2566 อยู่ที่ 153.54ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.9โดยการใช้น้ำมันกลุ่มเบนซินเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) เพิ่มขึ้นร้อยละ66.5 การใช้ LPG เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 และ NGV เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2ขณะที่น้ำมันเตาลดลงร้อยละ11.4 และน้ำมันกลุ่มดีเซลมีการใช้ลดลง ร้อยละ4.5

นางสาวนันธิกาทังสุพานิช

นางสาวนันธิกาทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจเชื้อเพลิง (พธ.)กล่าวว่า การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเดือนมกราคม – กันยายน 2566 ของน้ำมันกลุ่มเบนซิน เฉลี่ยอยู่ที่ 31.70ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.3 การใช้น้ำมันกลุ่มดีเซล เฉลี่ยอยู่ที่ 69.16ล้านลิตร/วันลดลงร้อยละ 4.5ทั้งนี้ ในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13กันยายน 2566 มีมติเห็นชอบการปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล 2.50 บาท/ลิตรตามชนิดของน้ำมันดีเซล และกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะเข้าไปชดเชยเพื่อตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาท/ลิตรโดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่20 กันยายน 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้แก่ประชาชนและภาคธุรกิจภายใต้สถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซลโลกที่มีความผันผวนจากความกังวลทางเศรษฐกิจ และความผันผวนของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ

Advertisement
Kreamy Proof

การใช้น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) เฉลี่ยอยู่ที่ 13.22 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 66.5เนื่องจากการฟื้นตัวด้านการท่องเที่ยวหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในช่วงปีก่อนกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติ ส่งผลให้ปริมาณการใช้น้ำมัน Jet A1 เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งรัฐบาลได้มีการประกาศใช้นโยบายฟรีวีซ่า สำหรับนักท่องเที่ยวประเทศจีนและคาซัคสถาน รวมระยะเวลา 5 เดือน ซึ่งคาดการณ์ว่าจะช่วยสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวเดินทางเพิ่มมากขึ้นการใช้ LPG เฉลี่ยอยู่ที่ 18.15ล้านกก./วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.5การใช้ NGV เฉลี่ยอยู่ที่ 3.40ล้านกก./วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.2 ในส่วนการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง ปริมาณการนำเข้ารวมเฉลี่ยอยู่ที่1,043,105 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ0.8คิดเป็นมูลค่าการนำเข้ารวม 93,700ล้านบาท/เดือน และการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปปริมาณส่งออกรวมอยู่ที่167,695 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 คิดเป็นมูลค่าส่งออกรวม 17,310 ล้านบาท/เดือน

คาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงไตรมาส 4 ปี พ.ศ. 2566

สำหรับการคาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงไตรมาส 4 ปี พ.ศ. 2566 ช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคม เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2566 (เดือนกรกฎาคม – กันยายน) คาดว่าการใช้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.10 เนื่องจากเข้าสู่ฤดูการท่องเที่ยวและฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิต การใช้น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1)เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1 น้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 น้ำมันเตาเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5  และกลุ่มเบนซินเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ขณะที่การใช้ LPG ลดลงร้อยละ 9.7 เนื่องจากภาคปิโตรเคมีลดกำลังการผลิต

ส่วนการคาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงภาพรวม ปี พ.ศ.2566 คาดว่าจะมีการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 153.08 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 1.0 ซึ่งการใช้ที่เพิ่มขึ้นหลักๆ มาจากการใช้น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1)เพิ่มขึ้น ร้อยละ 53.6 เนื่องจากการฟื้นตัวด้านการท่องเที่ยวหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อีกทั้งรัฐบาลได้มีการประกาศใช้นโยบายฟรีวีซ่า ซึ่งคาดการณ์ว่าจะช่วยสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวเดินทางทางอากาศยานเพิ่มมากขึ้นต่อไป


Advertisement
Leaderboard 728x90
Advertisement
Billboard