Advertisement
Leaderboard 728x90

S&P Global ในฐานะผู้จัดทำดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices: DJSI) ได้มีการเชิญบริษัทจดทะเบียนทั่วโลกจำนวน 3,519 แห่ง ที่มีคุณสมบัติในการรับคัดเลือกให้อยู่ในดัชนี DJSI เข้าร่วมในการประเมินความยั่งยืนของกิจการ (Corporate Sustainability Assessment: CSA) ประจำปี พ.ศ.2565

Dow Jones Sustainability Indices

ในจำนวนนี้ มีบริษัทที่ตอบรับเข้าร่วมรับการประเมินจำนวน 1,728 แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 49.1 ของบริษัทที่ได้รับเชิญทั้งหมด

Advertisement
อ่าวขนอม ซีฟู้ด

การประเมินในปีนี้ S&P Global ได้มีการปรับปรุงเกณฑ์ CSA จำนวน 20 ข้อ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อาทิ จรรยาบรรณทางธุรกิจ กลยุทธ์ทางสภาพภูมิอากาศ นโยบายและระบบจัดการทางสิ่งแวดล้อม ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจในการดำเนินการ การดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีความสามารถ การคุ้มครองความเป็นส่วนตัว โดยเกณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงจะมีผลขึ้นกับแต่ละอุตสาหกรรม

DJSI: หัวขบวนของดัชนีหุ้นยั่งยืน

ในปีนี้ มีบริษัทจดทะเบียนไทยที่ผ่านเกณฑ์คัดเลือกของดัชนี DJSI ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประเมิน จำนวน 37 แห่ง ตามเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนของกิจการ ที่พัฒนาขึ้นโดย S&P Global และพบว่า มีบริษัทจดทะเบียนไทยที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าอยู่ในดัชนี DJSI จำนวน 26 แห่ง (ไม่นับรวม THBEV ที่มิได้เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทย)

สำหรับบริษัทจดทะเบียนไทยที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าอยู่ในดัชนี DJSI ในปี พ.ศ.2565 ประกอบด้วย ADVANC, AOT, BANPU, BDMS, BJC, BTS, CPALL, CPF, CPN, CRC, DELTA, EGCO, GPSC, HMPRO, IRPC, IVL, KBANK, MINT, PTT, PTTGC, SCB, SCC, SCGP, TOP, TRUE และ TU

เจาะคะแนน ESG Score รายบริษัท

Dow Jones Sustainability Indices

ในมุมมองของบริษัทผู้จัดทำข้อมูลที่เข้าร่วมการประเมินในปีนี้ จากการสำรวจผลคะแนน ESG Score ของบริษัทจดทะเบียนไทยที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าอยู่ในดัชนี DJSI ทั้ง 26 แห่ง พบว่า บริษัทที่ได้ ESG Score สูงสุดห้าอันดับแรก ได้แก่ TRUE (93 คะแนน) ADVANC (90 คะแนน) และ BJC, PTTGC, SCC (89 คะแนนเท่ากัน)

Advertisement
The Xpozir

หากพิจารณา ESG Score แยกเป็นรายด้าน บริษัทที่ได้คะแนนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) สูงสุด
ได้แก่ TU (92 คะแนน) ขณะที่บริษัทที่ได้คะแนนด้านสังคม (Social) สูงสุด ได้แก่ TRUE (98 คะแนน)
ส่วนบริษัทที่ได้คะแนนด้านธรรมาภิบาล (Governance) สูงสุด ได้แก่ KBANK (91 คะแนน)

นอกจากนี้ ผลคะแนนในส่วนที่เป็นการประเมินกลยุทธ์ทางสภาพภูมิอากาศ (Climate Strategy) ของบริษัททั้ง 26 แห่ง พบว่า บริษัทที่ได้คะแนนในหัวข้อกลยุทธ์ทางสภาพภูมิอากาศมากกว่า 90 คะแนนขึ้นไป มีจำนวน 9 บริษัท ได้แก่ HMPRO, TRUE, PTT, EGCO, ADVANC, PTTGC, SCC, SCGP, BTS ตามลำดับ

ผลตอบแทนดัชนี DJSI เทียบกับดัชนี Thaipat ESG

พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธานสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวว่า ในมุมมองของผู้ลงทุนโดยใช้ธีมESG นอกจากการพิจารณาลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีการดำเนินงานโดยคำนึงถึงประเด็นสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลแล้ว การพิจารณาผลประกอบการในบรรทัดสุดท้าย (Bottom Line) ของกิจการ ยังคงเป็นเกณฑ์บังคับที่เลี่ยงไม่ได้สำหรับนักลงทุนซึ่งคาดหวังผลตอบแทนที่ไม่ด้อยไปกว่าการลงทุนในแบบทั่วไปเมื่อดูผลตอบแทนรวมสุทธิของดัชนี DJSI World ในรอบปีที่ผ่านมา (ข้อมูล ณ 9 ธ.ค. 65) พบว่า มีตัวเลขผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ -12.03% ขณะที่ผลตอบแทนของดัชนี DJSI Emerging อยู่ที่ -13.61%

หากเทียบกับดัชนี Thaipat ESG Index ซึ่งเป็นดัชนีที่ประกอบขึ้นจากหลักทรัพย์ ESG100 ที่ทำการประเมินโดยสถาบันไทยพัฒน์ พบว่า มีผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ -7.18% โดยให้ผลตอบแทนติดลบน้อยกว่าดัชนี DJSI World (ต่างกัน 4.85%) และ DJSI Emerging (ต่างกัน 6.43%)

หลักทรัพย์ ESG100 ซึ่งประกอบเป็นดัชนี Thaipat ESG Index ที่มีน้ำหนักสูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ DELTA, HANA, TPIPL, CK, SCGP, CPN, TISCO, AP, HMPRO และ KKPและเมื่อพิจารณาผลตอบแทนราคาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.2565 จนถึงปัจจุบัน (YTD) ของหุ้น DJSI ทั้ง 26 ตัว (แบบถ่วงน้ำหนักเท่ากัน) พบว่า มีอัตราผลตอบแทนอยู่ที่ 1.82% ขณะที่ผลตอบแทนของหุ้น ESG100 จำนวน 10 ตัวข้างต้น ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 8.45% ในช่วงเวลาเดียวกัน (ข้อมูล ณ 9 ธ.ค. 65) จะเห็นได้ว่า การลงทุนในหุ้นที่ถือว่ามีความโดดเด่นด้านความยั่งยืนตามเกณฑ์การประเมิน CSA ของ S&P Global อาจให้ผลตอบแทนที่ยังไม่น่าพอใจนัก เมื่อเทียบกับการลงทุนในหุ้นที่มีความโดดเด่นด้าน ESG ตามเกณฑ์การประเมินในแบบอื่น


Advertisement
Leaderboard 728x90
Advertisement
Billboard