Advertisement
Leaderboard 728x90

ซีพีเอฟผนึกพลังพิทักษ์ท้องทะเล ฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร  จำกัด  (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ  ร่วมพลิกฟื้นความหลากหลายทางชีวภาพ และคืนสมดุลสู่ระบบนิเวศทางทะเล มุ่งสร้างความมั่นคงทางอาหาร  ส่งมอบอาหารคุณภาพ ปลอดภัยสู่ผู้บริโภคทั่วโลก พัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับ  พร้อมเดินหน้ายกระดับการทำประมงที่ยั่งยืนและปลอดแรงงานผิดกฎหมาย 

ไพโรจน์ อภิรักษ์นุสิทธิ์

นายไพโรจน์ อภิรักษ์นุสิทธิ์ ผู้อำนวยการใหญ่ ธุรกิจสัตว์น้ำ ซีพีเอฟ  กล่าวว่า  บริษัทฯ  ดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานความยั่งยืน มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหาร  โดยให้ความสำคัญกับการจัดการทรัพยากรน้ำแบบองค์รวมตลอดห่วงโซ่การผลิต และยึดตามหลัก 3Rs ได้แก่ การลดการใช้น้ำ การนำน้ำกลับมาใช้ซ้ำ  และการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่โดยผ่านการบำบัดที่ทันสมัย และได้มาตรฐาน เพื่อลดการพึ่งพาน้ำจากแหล่งน้ำภายนอก  รวมไปถึงความร่วมมือในระดับสากล จากการที่ซีพีเอฟเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มความร่วมมือ Seafood Business for Ocean Stewardship (SeaBOS) เข้าสู่ปีที่ 6 ในการพิทักษ์มหาสมุทร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเล โดยมีข้อตกลงร่วมกันที่จะประยุกต์ใช้กฎระเบียบสากลตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อเสริมสร้างการประมงที่ถูกกฎหมาย ขจัดแรงงานที่ผิดกฎหมาย พัฒนาระบบทวนสอบย้อนกลับ ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการใช้พลาสติก ผ่านความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อนำไปใช้และปฏิบัติจริง

Advertisement
อ่าวขนอม ซีฟู้ด

อาหารทะเล

ในช่วงต้นปีพ.ศ.  2566  ซีพีเอฟ ยังได้ร่วมกับกลุ่มคณะทำงานการพัฒนาระบบการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ประมงของไทย (Thai Sustainable Fisheries Roundtable – TSFR) นำเสนอและแบ่งปันประสบการณ์ความสำเร็จการดำเนินงานโครงการแนวทางการพัฒนาการประมงอวนลากในอ่าวไทยสู่ความยั่งยืน (Fishery Improvement Project, FIP) ซึ่งป้องกันและต่อต้านการประมงที่ผิดกฎหมาย, ขาดการรายงาน, และไร้การควบคุม (IUU) ที่อาจทำลายความหลากหลายทางชีวภาพในท้องทะเลของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันโครงการดังกล่าวได้ขยายไปยังประเทศอินเดียและเวียดนาม

จากความสำเร็จของโครงการนี้ ทำให้คณะทำงานฯ ของประเทศไทย ได้รับเชิญจากทาง MarinTrust บนเวทีสัมมนากรณีศึกษาโครงการการปรับปรุงและพัฒนาการประมงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Blue Transformation – case studies from SE Asia) ในงาน Seafood Expo Global 2023 ณ เมืองบาเซโลนา ประเทศสเปน ซึ่งเป็นเวทีระดับโลกที่มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมประมงและอาหารทะเล อาทิ ผู้ประกอบการ ผู้ซื้อชั้นนำจากภูมิภาคอเมริกาและยุโรป นักลงทุน องค์กรสากลระดับโลก ให้ความสนใจเข้าร่วมงาน นอกจากนี้คณะทำงานฯยังทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการพัฒนาข้อกำหนดการประเมินการประมงแบบหลากหลายสายพันธุ์ (Multispecies Pilot Steering Group, MPSG) ร่วมกับ MarinTrust  ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ถูกออกแบบขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก สำหรับการทำประมงในเขตพื้นที่ที่มีสัตว์น้ำหลากหลายสายพันธุ์ซึ่งมีความท้าทายอย่างมากในการบริหารจัดการทรัพยากรเหมาะสม

นอกจากนี้  ในฐานะบริษัทผู้ผลิตอาหารระดับโลกที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัย (Food Safety) ซีพีเอฟ  ภายใต้บทบาทของการเป็นคณะทำงานด้านการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างมีความรับผิดชอบของ SeaBOS ในปี 2565 ได้จัดทำแนวปฏิบัติ “SeaBOS Antibiotics Code of Conduct” โดยถ่ายทอดการดำเนินงานและแนวทางปฏิบัติในการเลี้ยงกุ้งแบบลดใช้ยาปฏิชีวนะ การพัฒนาสูตรอาหารโปรไบโอติก ระบบบริหารจัดการการเพาะเลี้ยงกุ้งด้วยหลัก “3 สะอาด” ได้แก่ ลูกกุ้งสะอาด ปราศจากโรค และพื้นบ่อกุ้งที่สะอาด ไม่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค และน้ำในการเลี้ยงที่สะอาด ได้มาตรฐาน ไม่เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค  พร้อมนำหลักการนี้ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งรายย่อย

ซีพีเอฟยังได้ปลูกฝังและสร้างความตระหนักสู่พนักงานในองค์กร มีส่วนร่วมด้วยการลงมือทำ  เพื่อแก้ปัญหาขยะทะเล และปกป้องมหาสมุทร  สอดคล้องกับแนวทางการจัดการขยะพลาสติกของ SeaBOS ในโครงการ Restore the Ocean เพื่อดูแลและปกป้องระบบนิเวศทางทะเล อันจะนำไปสู่เป้าหมายการสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน  ประกอบด้วย  กิจกรรมเก็บขยะชายหาด ซึ่งจิตอาสาซีพีเอฟจะร่วมกันเก็บขยะบริเวณใกล้เคียงสถานประกอบการของซีพีเอฟ กิจกรรมกับดักขยะทะเลเป็นความร่วมมือกับชุมชน เก็บและคัดแยกขยะจากป่าชายเลน นำร่องที่  ต.บางหญ้าแพรก จ.สมุทรสาคร  ต่อยอดไปสู่การนำฝาจากขวดน้ำพลาสติก แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน  เช่น กระถางต้นไม้  ช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชน   รวมถึงส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะทะเล ตามหลักการ Circular Economy สนับสนุนให้เรือประมงเก็บขยะในทะเลกลับสู่ฝั่ง   และแรงงานประมงเก็บขยะในครัวเรือนและชุมชน เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลผ่านโครงการ “เก็บขยะท่าเรือ” เพื่อนำขยะที่เก็บรวบรวมเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลและเปลี่ยนขยะเป็นแหล่งรายได้เสริมให้กับชุมชน

Advertisement
The Xpozir

8  มิถุนายนของทุกปี  ตรงกับวันมหาสมุทรโลก หรือ World Ocean Day โดยในปี 2023 นี้  องค์การสหประชาชาติ กำหนดแนวคิดหลัก ” Planet Ocean: Tides Are Changes” ร่วมพลิกฟื้นท้องทะเลและมหาสมุทร  ซึ่งมีความสำคัญต่อทุกชีวิตบนโลก 


Advertisement
Leaderboard 728x90
Advertisement
Billboard