Advertisement
Leaderboard 728x90

SCG จัดงาน ESG Symposium 2023

SCG จัดงาน ESG Symposium 2023 ภายใต้แนวคิด ร่วม เร่ง เปลี่ยนสู่สังคมคาร์บอนต่ำ”  เพื่อรับมือภาวะโลกเดือดผลักดันหาทางให้ประเทศไทยก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างสมดุล

บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCG) จัดงาน “SUSTAINABILITY EXPO 2023 : GOOD BALANCE, BETTER WORLD”มหกรรมด้านความยั่งยืนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน ภายใต้แนวคิด “ร่วม เร่ง เปลี่ยนสู่สังคมคาร์บอนต่ำ” เพื่อรับมือโลกเดือด(Global Boiling) ผลักดันหาทางให้ประเทศไทยก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างสมดุล

Advertisement
Kreamy Proof

เศรษฐา ทวีสิน

เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่าปัจจุบัน “ภาวะโลกเดือด” ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ขอคนทั่วโลก ภัยแล้งรุนแรง อาหารขาดแคลนส่งผลกระทบไปทั่วทุกภาค หากทุกฝ่ายเดินหน้าไปตามกลยุทธ์ ESG ที่เน้นสร้างเศรษฐกิจ ควบคู่กับสมดุลทางสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างโปร่งใส มุ่งสู่เป้าหมาย Sustainable Development Goals (SDGs) ของสหประชาชาติ เราช่วยกันจะกู้โลกให้กลับมาดีขึ้นได้  สามารถกู้โลกให้หลุดพ้นจาก “ภาวะโลกเดือด” ไปได้ ที่ผ่านมารัฐบาลได้เดินทางไปร่วมประชุม UN พร้อมกับประกาศแนวทางที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำผ่านมาตรการต่างๆ ไม่ว่าเป็นมาตรการทางการเงินที่มีการลงทุนไปจำนวนกว่ารัฐบาลได้ออกมาตรการทางการเงินกว่า 450,000 ล้านบาท เพื่อลงทุนในเศรษฐกิจสีเขียว และ Thailand Green Taxonomy เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนเพื่อความยั่งยืน ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากภาคธุรกิจไทย โดย Global Compact Network Thailand กว่า 100 บริษัททั่วประเทศ พร้อมขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และตั้งเป้าลงทุน 1.6 ล้านล้านบาท ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ SDGs ภายในปี พ.ศ.2573

สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ต้องมีแนวทางที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านที่ชัดเจน โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งประเทศไทยได้มีแนวทาง ได้แก่ มุ่งมั่นการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ผ่านหลักการไปให้ถึงและช่วยเหลือกลุ่มที่รากหญ้า ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมทางเพศ สำหรับประชากรทุกคนในประเทศ และให้ความสำคัญกับสิทธิด้านสุขภาพ และผลักดันความร่วมมือทุกระดับ เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงส่งเสริมการเข้าถึงบริการพลังงานสะอาด ในราคาที่เหมาะสมและมีความน่าเชื่อถือภายในปี พ.ศ.2566 ซึ่งวันนี้ประเทศไทยพร้อมเดินหน้าแก้วิกฤตสิ่งแวดล้อม โดยรัฐบาลบรรจุอยู่ในนโยบาย และมีแผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (Nationally Determined Contribution : NDC) เพื่อให้ทุกภาคส่วนดำเนินงานอย่างบูรณาการร่วมกันสร้างสังคมที่ยั่งยืนให้แก่ประเทศไทยได้อย่างแท้จริง

SCG

ทั้งนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ SCG ได้เริ่มขยับและลุกขึ้นแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการกำหนดให้ จังหวัดสระบุรี เป็นพื้นที่แซนด์บ็อกซ์  เพราะจังหวัดสระบุรีถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีความท้าทายอย่างมาก เพราะมีโรงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ค่อนข้างเยอะ อย่างไรก็ตามรัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะผลักดันเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เป็นวาระแห่งชาติ รวมไปถึงการให้ความสำคัญกับระบบบริหารจัดการขยะ การจัดหาสินค้าสีเขียวเพื่อสร้างระบบ ECOSYSTEM อีกทั้งรัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานสะอาดให้เต็มประสิทธิภาพ และศึกษาการเปิดให้สามารถซื้อ-ขายไฟฟ้าจาก Renewable Source แหล่งพลังงานทดแทนได้มากขึ้น สนับสนุนการเข้าถึงความรู้ เทคโนโลยี และการเข้าถึงเงินทุน แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะเป็นจุดแข็งของประเทศไทยในการดึงดูดนักลงทุน และบริษัทต่างชาติในอนาคต

รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส

รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCG) กล่าวว่า คณะจัดงานขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรีที่ให้เกียรติมาร่วมงาน และรับฟังข้อเสนอจากพวกเราทุกภาคส่วนในวันนี้ เชื่อมั่นว่าภายใต้การบริหารงานของท่านที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง พร้อมทั้งแนวนโยบายที่ชัดเจนของประเทศ จะทำให้ทุกภาคส่วนทำงานร่วมกันอย่างแข็งแกร่ง เพื่อขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน

Advertisement
The Xpozir

ธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม

ธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCG) กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาในช่วงเดือน กันยายน พ.ศ.2566 ที่ได้ระดมความคิดจากตัวแทนภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนและภาคการศึกษากว่า 500 คน เพื่อที่จะทำให้ประเทศไทยก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำทั้งในด้านการผลิตและด้านการบริการ ใน 4 แนวทางได้แก่

1.ร่วมสร้าง “สระบุรีแซนด์บ็อกซ์” เมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทยที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยอุตสาหกรรมสีเขียว เกษตรยั่งยืน ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เนื่องจากสระบุรีเป็นจังหวัดที่มีความซับซ้อนและท้าทายมาก เพราะมีระบบเศรษฐกิจทั้งภาคอุตสาหกรรมหนัก การเกษตร การท่องเที่ยว และความเป็นเมืองที่ผสมผสาน จึงสามารถเป็นตัวแทนเสมือนของประเทศไทยได้ เพื่อศึกษาเรียนรู้ปัจจัยความสำเร็จและข้อจำกัดต่าง ๆ ในการเปลี่ยนสู่เมืองคาร์บอนต่ำ ซึ่งร่วมบูรณาการโดยผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมจริง เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยตรง และภาคประชาสังคมที่ได้รับผลกระทบ หากประสบความสำเร็จจะเป็นแรงจูงใจให้จังหวัดอื่น ๆ ได้ ปัจจุบันมีความร่วมมือเกิดขึ้นแล้ว อาทิ การกำหนดใช้ปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำในทุกงานก่อสร้างในจังหวัดสระบุรีตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป การทำนาเปียกสลับแห้ง ช่วยลดการใช้น้ำ การปลูกพืชพลังงาน หญ้าเนเปียร์ และนำของเหลือจากการเกษตรไปแปรรูปเป็นพลังงานทดแทน สร้างรายได้ให้ชุมชน รวมทั้งร่วมปลูกป่าชุมชน 38 แห่งทั่วจังหวัด ช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจก และนำไปสู่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สร้างรายได้ให้ชุมชน

2.เร่งผลักดันเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เป็นวาระแห่งชาติเพราะเป็นการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบ
คาร์บอนต่ำ ในประเทศไทยมี 3 อุตสาหกรรมที่ลงมือทำแล้ว คืออุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ ยานยนต์ และก่อสร้าง   ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียนเกิดขึ้นได้จริง คือกำหนดนโยบาย กฎหมาย มาตรฐาน การคัดแยกและจัดเก็บขยะเป็นระบบเดียวกันทั้งประเทศ กำหนดตัวชี้วัดในการติดตามผล ตลอดจนสร้าง Eco-system สนับสนุนสิทธิประโยชน์ในการลงทุนและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมทั้งรณรงค์ใช้สินค้าสีเขียวที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลหรือวัสดุชีวภาพ ออกกฎหมายระบุปริมาณอย่างชัดเจน โดยหน่วยงานภาครัฐนำร่องจัดซื้อจัดหาสินค้าสีเขียว เพื่อให้เกิดการยอมรับอย่างแพร่หลาย

3.เปลี่ยนสู่พลังงานสะอาดและยั่งยืนปลดล็อกข้อจำกัดโดยเปิดเสรีซื้อ-ขายไฟฟ้าพลังงานสะอาดด้วยระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Grid Modernization)เพื่อให้ภาครัฐและเอกชนใช้เครือข่ายไฟฟ้าร่วมกัน ให้ทุกคนเข้าถึงพลังงานสะอาดสะดวกยิ่งขึ้น สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่กักเก็บพลังงานสะอาดและใช้พื้นที่ว่างเปล่า
กักเก็บพลังงานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น พลังงานน้ำ พลังงานความร้อน พลังงานกล พลังงานเคมี รวมทั้งพัฒนาพลังงานทดแทนใหม่ๆ และผลักดันให้อยู่ในแผนพลังงานชาติ เช่น พลังงานไฮโดรเจน พืชพลังงาน ขยะจากชุมชน ของเสียจากโรงงานตลอดจนปรับปรุงนโยบายและให้สิทธิประโยชน์ที่เอื้อต่อการใช้พลังงานสะอาด และส่งเสริมการใช้ข้อมูล Big Data เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง

4.ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางที่ยังไม่สามารถปรับตัวได้ เช่น SMEs แรงงาน เกษตรกร และชุมชน  โดยแบ่งกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบและจัดสรรความช่วยเหลืออย่างเหมาะสม เพื่อให้ตระหนักรู้ เข้าถึงเทคโนโลยีลดคาร์บอนและแหล่งเงินทุนสิ่งแวดล้อมทั่วโลกซึ่งมีอยู่มากถึง 52 ล้านล้านบาท และขอเสนอให้ไทยควรร่วมเร่งเข้าถึงกองทุนดังกล่าว เพื่อขับเคลื่อนสังคมคาร์บอนต่ำให้เกิดขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรม เช่น กองทุนนวัตกรรมจัดการน้ำให้กลุ่มเกษตรกรรับมือสภาพภูมิอากาศแปรปรวน กองทุนฟื้นฟูและเพิ่มพื้นที่ป่าพร้อมสร้างรายได้จากคาร์บอนเครดิต  นอกจากนี้ ยังควรพัฒนาทักษะแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านให้มีความพร้อมปรับตัวทันท่วงทีและพึ่งพาตัวเองได้


Advertisement
Leaderboard 728x90
Advertisement
Billboard