Advertisement
Leaderboard 728x90

ไฮเออร์เผยจบปี’66 นี้ คาดว่าจะปิดรายได้รวมที่ประมาณ 9,100 ล้านบาท

บริษัท ไฮเออร์ อีเลคทริคอล แอพพลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด เผย จบปี 2566 นี้ คาดว่าจะปิดรายได้รวมที่ประมาณ 9,100 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้า -4% มาจากแบรนด์ไฮเออร์80% คาซาร์เต้10% และแคนดี้10% เนื่องจากปีนี้เน้นขายสินค้ากลุ่มกลางถึงบน ในแง่ยูนิตจึงขายได้จำนวนน้อยแต่ยอดขายเติบโตถึง 20% จากปีก่อนโต 5% และธุรกิจอยู่ดีที่ไม่เป็นไปตามแผน ซึ่งโดยรวมปีนี้อยู่ในช่วงปรับตัว ส่งผลให่ปีหน้าพร้อมกลับมาทำตลาดเต็มกำลัง หรือตั้งเป้ายอดขายไว้กว่า 11,000 ล้านบาท

ธเนศร์ บินอาซัน รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไฮเออร์อีเลคทริคอล แอพพลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ภาพรวมของตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในปีนี้ว่า เติบโตขึ้น 8-10% เมื่อเทียบกับภาพรวมตลาดในปี 2565 โดยไฮเออร์ประเทศไทย คาดการณ์ว่าจะปิดยอดขายปีนี้อยู่ที่ 9,070 ล้านบาท และได้เปิดเผยยอดขายของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในแต่ละหมวด ดังต่อไปนี้

Advertisement
อ่าวขนอม ซีฟู้ด
  • เครื่องปรับอากาศซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เรือธงของบริษัท สร้างยอดขายรวมกว่า 4,000 ล้านบาท (เติบโต 12 %) มียอดขายเป็นอันดับ 1 ในตลาดเชิงปริมาณ
  • ตู้เย็นยอดขายรวมคิดเป็น 1,500 ล้านบาท มีส่วนแบ่งทางการตลาดเชิงปริมาณเป็น 9%
  • เครื่องซักผ้า กวาดยอดขายรวมเกือบ 1,000 ล้านบาท
  • ตู้แช่ยอดขายรวมคิดเป็น 900 ล้านบาท มีส่วนแบ่งทางการตลาดถึง 38% และยอดขายเป็นอันดับ 1 ของตลาดตู้แช่ประเทศไทย
  • ทีวียอดขายรวม 800 ล้านบาท
  • เครื่องครัวมียอดขายเติบโตจากปีที่แล้ว ถึง 62%
  • เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กยอดขายรวม 250 ล้านบาท
  • เครื่องทำน้ำอุ่นยอดขายรวมคิดเป็น 313 ล้านบาท

กลยุทธ์ทางการตลาดของ ไฮเออร์ ประเทศไทย ในปี 2567 ว่า มีแผนจะใช้งบด้านการตลาดกว่า 1 พันล้านบาทสำหรับการทำกิจกรรมทางการตลาดให้กับแบรนด์ ไฮเออร์ และ คาซาร์เต้ โดยในฝั่งของแบรนด์ไฮเออร์นั้นจะเน้นที่สุขภาพจากเทคโนโลยีต่าง ๆ ของสินค้าไฮเออร์ และจัดกิจกรรม Sport Marketing ในภาพที่ใหญ่ขึ้น เช่น การจัดงานในระดับ Southeast Asiaส่วนในฝั่งของแบรนด์คาซาร์เต้นั้น จะมีการใช้ KOL และ KOC ระดับบน มาบอกเล่าประสบการณ์การใช้สินค้าคาซาร์เต้มากยิ่งขึ้น และจะมีการจัดกิจกรรม Exclusive Event และเชิญลูกค้ามาร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งกิจกรรมกับ KOLs รุ่นใหม่ เพื่อให้สินค้าเข้าถึงกลุ่ม Gen Y – Z

นอกจากกลยุทธ์ทางการตลาดของแบรนด์ไฮเออร์และคาซาร์เต้แล้วนั้น ในปี 2567 ไฮเออร์ยังมีอีก 2 กลยุทธ์ที่เพิ่มเข้ามาคือ กลยุทธ์การขยายช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าของไฮเออร์และคาซาร์เต้ให้กว้างขึ้น โดยมีสินค้าตั้งแต่ระดับกลางไปจนถึงระดับไฮเอนด์ และอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สำคัญคือการบริการหลังการขาย กับมาตรฐาน 210 Quick Service (จะติดต่อกลับหาลูกค้าภายใน 2 ชั่วโมงหลังจากพนักงานรับเรื่องผ่านทาง Haier Care 1789 จากนั้นสรุปแนวทางแก้ไขให้ลูกค้าภายใน 1 วัน และแต่ละวันงานค้างต้องเป็น 0 มีศูนย์ซ่อมบริการรวมกว่า 187 ศูนย์ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 10%)

ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงผลกระทบจากเศรษฐกิจ ที่อาจไม่ส่งผลดีนักต่อการเติบโตในปีหน้าว่าเริ่มเห็นผลกระทบจากธุรกิจผ่อนสินค้า ซึ่งเป็นตลาดของผู้บริโภคที่อาจไม่มีกำลังซื้อมากนัก โดยในปี 2565 ตลาดดังกล่าวถือว่าเติบโตได้ดี แต่เมื่อเข้าสู่ปี 2566 พบว่า ดีลเลอร์ หรือตัวแทนที่ปล่อยสินเชื่อเริ่มมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น รวมถึงมีการปรับเพดานเงินดาวน์เพิ่มขึ้นเพื่อลดความเสี่ยง ในส่วนนี้ ไฮเออร์จึงอาจมีการปรับโมเดลธุรกิจด้วยเช่นกัน โดยตลาดอาจเติบโตได้มากขึ้นจาก 6 ปัจจัยนี้ ได้แก่

  • การไม่หวังพึ่งพานักท่องเที่ยวจีน และกระตุ้นให้คนไทยกลับมาท่องเที่ยวกันเองภายในประเทศมากขึ้น
  • สภาพอากาศที่ร้อนมากขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อยอดขายเครื่องใช้ไฟฟ้า
  • โอกาสใหม่ ๆ ในการขยายช่องทางการตลาด ทั้งบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ หรือการขยายตลาดไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา และเมียนมาร์
  • การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
  • การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกาที่อาจทำให้เงินลงทุนไหลออกจากสหรัฐอเมริกามากขึ้น
  • ราคาพลังงานที่มีแนวโน้มจะปรับตัวลดลง

“จากตัวเลขทั้งหมดในยอดขายของปี 2566 และคาดการณ์ยอดขายกว่า 9,070 ล้านบาทในปี 2566 แล้ว ปีนี้ยังเป็นปีที่เครื่องปรับอากาศไฮเออร์ได้ขยับขึ้นเป็น “ผู้นำอันดับ 1” ในตลาด โดยมีส่วนแบ่งมากถึง 12.9% ส่วนตู้เย็น เราก็ขยับเป็นท็อป 3 ของตลาดไทยเช่นกัน และเราตั้งเป้าด้วยว่า ในปี 2569 เราจะเป็นแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าอันดับหนึ่งของประเทศไทย ด้วยยอดขาย 22,000 ล้านบาท” คุณธเนศร์กล่าว

Advertisement
The Xpozir

ธนาพงศ์ ศิริรัตน์อัสดร ผู้อำนวยการฝ่ายขาย จาก บริษัท ไฮเออร์อีเลคทริคอล แอพพลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า รูปแบบการแข่งขันที่จะเปลี่ยนไปในปี 2024 ว่า มาจากหลายปัจจัย ได้แก่

  • ความแพร่หลายของร้านสะดวกซื้อในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่เริ่มกระทบต่อพฤติกรรมผู้บริโภค Gen Y และ Gen Z โดยพบว่า “ตู้เย็น” เริ่มมีความสำคัญลดลงสำหรับผู้บริโภคกลุ่มดังกล่าว เนื่องจากสามารถหาซื้ออาหารได้สะดวกขึ้น
  • แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ เช่น ลาซาด้า มีการเพิ่มบริการติดตั้งเครื่องปรับอากาศลงไปด้วยทำให้บริษัทผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศสามารถเข้ามาแข่งขันได้มากขึ้น
  • รูปแบบการแข่งขันของตลาดเครื่องปรับอากาศในปี 2567 คือเรื่องของ“ราคา” โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศที่ต่ำกว่า 10,000 BTU
  • ตู้แช่มีโอกาสสร้างยอดขายได้มากขึ้น เนื่องจากกลุ่ม Gen Y – Gen Z ออกมาประกอบธุรกิจขายอาหารเป็นอาชีพที่ 2 กันมากขึ้น ทำให้ต้องซื้อตู้แช่ไว้แช่วัตถุดิบ
  • เครื่องใช้ไฟฟ้าในยุคต่อไปต้องให้ความสำคัญกับสุขภาพ และความยั่งยืนมากขึ้น เช่น มีฟีเจอร์กรองอากาศ ฟีเจอร์การทำความสะอาดตัวเอง หรือการระบุว่าสามารถกรองเชื้อ Covid-19 ได้ เป็นต้น

Advertisement
Leaderboard 728x90
Advertisement
Billboard