Advertisement
Leaderboard 728x90

กรมควบคุมโรค แนะนำ 3 แนวทาง “รู้-ลด-เลี่ยง” รับมือและป้องกันฝุ่น PM 2.5

กรมควบคุมโรค แนะนำวิธีป้องกันสุขภาพจากปัญหา ฝุ่น PM 2.5 โดยทำตามข้อปฏิบัติ “รู้-ลด-เลี่ยง”ฝุ่น PM 2.5 ปัญหาสุขภาพที่ต้องระวัง ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ ฝุ่นละออง PM 2.5 เป็นปัญหามลพิษอากาศที่สำคัญของประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องหลายปีดังนี้

รู้ : ตรวจสอบสภาพอากาศทุกครั้งก่อนเดินทางออกจากบ้าน ผ่านการติดตามสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 ในแอปพลิเคชัน Air4thai และเพจ “คนรักอนามัย ใสใจ อากาศ PM 2.5” หรือติดตามข่าวสารตามช่องทางต่าง ๆ ของหน่วยงานด้านสาธารณสุข

Advertisement
อ่าวขนอม ซีฟู้ด

ลด : ลดการสร้างมลพิษ ลดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นละออง PM 2.5 เช่น จุดธูป เผากระดาษ ปิ้ง ย่างที่ ทําให้เกิดควัน การเผาใบไม้ เผาขยะ เผาพืชผลทางการเกษตร เป็นต้น รวมถึงการติดเครื่องยนต์ในบ้านเป็นเวลานาน

เลี่ยง : หลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่ที่มีฝุ่นละอองสูง การอยู่กลางแจ้ง หรือทำกิจกรรมนอกอาคารเป็นเวลานาน ในช่วงที่ฝุ่นละออง PM 2.5 มีปริมาณมากกว่า 26 – 37 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรขึ้นไป โดยปราศจากอุปกรณ์ป้องกันฝุ่นละอองในอากาศ

โดยฝุ่นละออง PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อทุกคนที่พบเจอ และอาจเป็นอันตรายต่อกลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มอาจเกิดโรคได้ง่ายกว่าคนทั่วไป เช่น เด็กเล็ก เด็กนักเรียน ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีโรคประจำตัว รวมถึงผู้ที่ต้องปฏิบัติงาน หรือออกกำลังกายในสถานที่กลางแจ้ง เป็นต้นโดยระดับของอาการจะรุนแรงแตกต่างกัน ดังนี้

  1. ไอ จาม และภูมิแพ้ :พบได้เมื่อมีฝุ่นละอองเข้าไปสะสมในโพรงจมูก เวลาที่หายใจเข้าและออก ซึ่งจะทำให้เกิดการระคายเคืองในจมูกและลำคอ มีเสมหะ ไอ จาม โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ จะมีอาการภูมิแพ้กำเริบได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
  2. โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง :พบได้ในกรณีที่เป็นอาการไอต่อเนื่องนาน 3-8 สัปดาห์ขึ้นไป มีเสมหะเป็นสีขาว สีเหลือง หรือมีเลือดปน นอกจากนี้จะรู้สึกเกิดอาการเหนื่อย โดยอาจเพิ่มมากขึ้น กระทบต่อการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
  3. โรคหลอดเลือดและหัวใจเรื้อรัง :พบได้ในกรณีที่ฝุ่นละอองเกิดการติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด อาจทำให้เกิดการอุดตันในหลอดเลือดและผนังหัวใจ อาการที่พบคือ มีอาการเจ็บหน้าอก เหงื่อออก ใจสั่น เหนื่อยหรือแน่นขณะออกแรง ซึ่งอาจทำให้เป็นลม หมดสติ หรือเสียชีวิตได้
  4. โรคปอดเรื้อรัง และมะเร็งปอด :พบได้ในกรณีที่สูดเอาฝุ่นละออง PM 2.5 สะสมเข้าไปเป็นระยะเวลานาน ทำให้มีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมากหมดเรี่ยวแรง หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ ซึ่งอาจรุนแรงและกลายเป็นเซลล์มะเร็งที่อาจลุกลามไปทั่วปอด เกิดเป็นโรคมะเร็งปอดได้

ทั้งนี้การป้องกันฝุ่นละออง PM 2.5 ด้วยแนวทางที่เหมาะสมจะช่วยให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ชีวิตและปฏิบัติงาน โดยเราควรความตระหนักและเฝ้าระวังสุขภาพอย่างเป็นประจำและสม่ำเสมอ เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคจากฝุ่นละออง ทั้งต่อตนเองและคนรอบตัวอีกด้วย ดังนั้น อย่าลืมแนวทาง “รู้-ลด-เลี่ยง” ไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันกันด้วย

Advertisement
The Xpozir

Advertisement
Leaderboard 728x90
Advertisement
Billboard