Advertisement
Leaderboard 728x90

กนง.ปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 25 สตางค์

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 2.25% ต่อปี สู่ระดับ 2.50% ต่อปี ขณะเดียวกันได้ปรับลดตัวเลขเศรษฐกิจไทยในปี 2566 เหลือ 2.8% ต่อปีจากคาดการณ์เดิมที่ 3.6% ต่อปี เนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจชะลอตัวลงจากภาคการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด

นายปิติ ดิษยทัต

นายปิติ ดิษยทัต เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง.ว่า คณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 2.25% เป็น 2.50% ต่อปี โดยให้มีผลทันที และปรับประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ในปี 2566 มาอยู่ที่ 2.8% จากเดิมที่ระดับ 3.6% และปรับเพิ่ม GDP ในปี 2567 เป็น 4.4% จากระดับเดิมที่ 3.8%

Advertisement
Kreamy Proof

โดยมีแรงส่งสำคัญจากการบริโภคภาคเอกชน สำหรับปีนี้ การขยายตัวของเศรษฐกิจชะลอลงจากภาคการส่งออกสินค้าและภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด ส่วนหนึ่งจากเศรษฐกิจจีนและวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ฟื้นตัวช้า อย่างไรก็ดี อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยจะเร่งสูงขึ้นในปี 2567 จากอุปสงค์ในประเทศ ภายใต้บริบทที่ภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวต่อเนื่องและภาคการส่งออกสินค้ากลับมาขยายตัว อีกทั้งจะได้รับแรงส่งเพิ่มเติมจากนโยบายภาครัฐ

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มอยู่ในกรอบเป้าหมาย และคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.6 และ 2.6 ในปี 2566 และ 2567 ตามลำดับ โดยมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำในปี 2566 จากผลของมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐและผลของฐานที่สูงในปีก่อนหน้า ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นในปี 2567

โดยคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.4 และ 2.0 ในปี 2566 และ 2567 ตามลำดับ ทั้งนี้ ยังต้องติดตามความเสี่ยงด้านสูง โดยเฉพาะในปี 2567 จากแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่อาจเพิ่มขึ้นจากนโยบายภาครัฐ และต้นทุนราคาอาหารที่อาจปรับสูงขึ้นหากปรากฏการณ์เอลนีโญรุนแรงกว่าคาด

อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจไทยในภาพรวมอยู่ในทิศทางฟื้นตัว แม้จะขยายตัวชะลอลงในปีนี้จากอุปสงค์ต่างประเทศ โดยอัตราการขยายตัวในปี 2567 จะเพิ่มสูงขึ้นจากทั้งอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศ

Advertisement
The Xpozir

สำหรับมุมมองต่อความกังวลเรื่องเสถียรภาพทางการคลังในระยะยาว และการถูกปรับลดเครดิตความน่าเชื่อถือของประเทศ นายปิติ กล่าวว่า ณ จุดนี้ ประเทศไทยมีเสถียรภาพทางการคลังค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับต่างประเทศ สัดส่วนหนี้โดยรวมไม่ได้อยู่ในระดับที่สูงมาก ทำให้แนวโน้มข้างหน้าเมื่อเศรษฐกิจโตตามศักยภาพ รัฐบาลยังมีศักยภาพในการก่อหนี้และใช้หนี้อยู่ ซึ่งไม่ได้เป็นประเด็นต่อความมั่นคงทางการคลังระยะยาว

ด้านผลกระทบมาตรการแจกเงินดิจิทัล10,000 บาท ที่ยังไม่มีความชัดเจนทั้งระยะเวลาเริ่มมาตรการ ที่มาของแหล่งเงิน และรูปแบบระบบการเงิน แต่นับเป็นมาตรการที่มีผลกระทบต่อ GDP มากที่สุดในบรรดามาตรการของภาครัฐทั้งหมด ซึ่งธปท.เอง มีการติดตาม และศึกษาขอบเขตที่น่าจะเป็นไปได้ของมาตรการคลังลักษณะดังกล่าว จากกรณีศึกษาทั้งในและต่างประเทศอย่างใกล้ชิด

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากหลักการตัวคูณที่จะมากระตุ้นเศรษฐกิจของมาตรการภาครัฐ คาดว่ามาตรการกระเป๋าเงินดิจิทัล10,000 บาท จะช่วยให้เม็ดเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น 0.3-0.6 เท่า จากงบประมาณโครงการที่ใช้ 5.6 แสนล้านบาท ซึ่งจะทำให้ GDP โตอย่างน้อย 4% ส่วนจะเป็น 4.4% หรือ 4.6% ต้องดูรูปแบบมาตรการไปอีกสักระยะหนึ่ง สำหรับเครื่องยนต์ปี 2567 จะเต็มสูบครบครันทั้งมาตรการภาครัฐ และปัจจัยเครื่องยนต์อื่นๆ ที่มีอยู่ถูกขับเคลื่อนมากขึ้น


Advertisement
Leaderboard 728x90
Advertisement
Billboard